Wellcome

ยินดีต้อนรับกัลยาณมิตร ขณะนี้วีดีโอสามารถรับชมได้แล้ว โปรดรับชมตามอัธยาศัย

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

โพธิปักขิยธรรม




โพธิปักขิยธรรม แปลว่า ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ หรือ ธรรมที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของปัญญาเครื่องตรัสรู้ หรือ ธรรมที่สนับสนุนให้เกิดความตรัสรู้ ซึ่งความตรัสรู้ที่พระพุทธองค์ทรงประสงค์ก็คือ ความตรัสรู้อริยสัจ ๔ เพราะความตรัสรู้อริยสัจ ๔ นั้น เป็นปัญญาชั้นโลกุตระที่จะเป็นเครื่องมือสำหรับทำลายกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ให้ย่อยยับลงได้อย่างแท้จริง
แต่การที่บุคคลจะมีปัญญาอันประเสริฐอย่างนี้ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ปัญญาอันประเสริฐนี้จะเกิดขึ้นและเจริญงอกงามในจิตใจของบุคคลได้ จะต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ในหลักไตรสิกขา อาศัยการอบรมขัดเกลาจิตให้เบาบางจากกิเลสด้วยการปฏิบัติในศีล ด้วยการประพฤติธุดงควัตร รวมทั้งการปฏิบัติในสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อพอกพูนโพธิปักขิยธรรม ให้เจริญงอกงามโดยถูกทาง เพราะ
โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมที่เป็นเหตุให้พระสาวกบรรลุสาวกบารมีญาณ พระปัจเจกพุทธเจ้าบรรลุปัจเจกโพธิญาณ และเป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ


โพธิปักขิยธรรม ประกอบด้วยธรรมะ หมวด คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ , มรรคมีองค์ ๘ รวมเป็น ๓๗ จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗

.) สติปัฏฐาน คือ การเจริญสติระลึกรู้
. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องรูปธรรม
. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนความรู้สึกจากสัมผัส
. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนของการรับรู้
. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นทุกเรื่องทั้งรูปธรรมและนามธรรม

.) สัมมัปปธาน คือ ความเพียรพยายาม
. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น

.) อิทธิบาท คือ ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล
. ฉันทะ คือ ความพอใจและเต็มใจ
. วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม
. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน
. วิมังสา คือ ปัญญาที่พิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

.) อินทรีย์ ๕ คือ ธรรมที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในอารมณ์
. สันธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่
. วิริยินทรีย์ คือ ความเพียรเป็นใหญ่
. สตินทรีย์ คือ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบันเป็นใหญ่
. สมาธินทรีย์ คือ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน
. ปัญญินทรีย์ คือ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้ง

.) พละ คือ ธรรมอันเป็นกำลังที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค
. สัทธาพละ คือ ความเชื่อ เลื่อมใส ศรัทธาที่เป็นกำลังให้อดทน และเอาชนะธรรมอันเป็นข้าศึก เช่น ตันหา
. วิริยะพละ คือ ความเพียรพยายาม เป็นกำลังให้ต่อสู้กับความขี้เกียจ
. สติพละ คือ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐาน อันจะเป็นกำลังให้ต้านทานความประมาทพลั้งเผลอ
. สมาธิพละ คือ ความตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ทำให้เกิดกำลังต่อสู้เอาชนะความฟุ้งซ่าน
. ปัญญาพละ คือ เป็นกำลังปัญญาที่เข้มแข็ง ซึ่งทำให้เอาชนะโมหะ คือความโง่ ความหลง

.) โพชฌงค์ คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
. สติสัมโพชฌงค์ คือ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ ความเพียร
. ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ความอิ่มใจ
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ความสงบกายใจ
. สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

.) มรรคมีองค์ ๘ คือ หนทางปฏิบัติที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน
. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น