Wellcome

ยินดีต้อนรับกัลยาณมิตร ขณะนี้วีดีโอสามารถรับชมได้แล้ว โปรดรับชมตามอัธยาศัย

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

ฝากไว้ในแดนธรรม ตอน 11... ป่วยเข้าโรงพยาบาล


ลักขณา วชิรวาทการ นักรบรุ่นที่ ๑ ของชมรมมังสวิรัติ แม้ไม่มีร่างเธอแล้วในวันนี้ แต่วิถีชีวิตบนเส้นทางแห่งสัมมากัมมันตะ ที่เธอพากเพียร ปฏิบัติเป็นเวลา ๖ ปี ได้ทิ้งไว้ให้เราศึกษา จากบันทึกประจำวัน ของเธอดังต่อไปนี้…

วันที่ ๑๘ มิ.ย. ‘๓๒
ช่วงนี้เราไม่สบายกาย เลยรู้สึกอึดอัด-แน่น แต่ จิตใจสงบนิ่งดี คิดว่าวันนี้ก็คงจะเอา แต่ หลับแน่นอน เป็นช่วงที่เราทำสมถธุระกันมาก จนเราต้องระวังความเฉื่อย
ชีวิตนี้สั้นนัก เวลาผ่านไป เราได้อะไรบ้าง
ช่วงนี้รู้สึกป่วยมากทางกาย ป่วยจนไม่มีแรง เสียดท้องทุกวัน แต่ สบายๆ หน่อยที่ทำใจได้
วันที่ ๒๓ มิ.ย. ‘๓๒
เราประเภทบ้าทำงาน ถ้าวิบากไม่ตามมา ไม่มีทางได้หยุด เราเจอ แต่ ละวิบากหนักจังเลย มีแรงเมื่อไหร่ ใจเราติดเครื่องรออยู่แล้ว...
จิตใจที่ดีจะมีได้ ก็เพราะเกิดจากการหมั่นพิจารณา หมั่นฝึกปรือ สาเหตุสำคัญคือ มองใจเรา เราเลิกหลงตัว มีความสุขที่สุด
อย่ามองหาเรื่อง มองก็มองอย่างยอมแพ้จริงๆ เราเลิกให้สนิท ยอมให้ได้มากขึ้น มากขึ้นไปเรื่อยๆ สงครามจะไม่เกิดขึ้นที่อื่น นอกจากในสมรภูมิใจเราเอง เราจะอยู่ กับใจไม่เผลอสติ ไม่พูดพาดพิงถึง ให้ตายสนิทจากใจเราให้สนิท เลิกมองคนอื่นจงมองตน
คติวันนี้ "มาแข่งกันทำความดี แต่ อย่ามีกิเลสแข่งดี"
วันที่ ๒๖ มิ.ย. ‘๓๒
ชีวิตที่ผ่านไปโดยไม่มีโจทย์ ขาดการพิจารณา เป็นชีวิตที่ไร้ค่าที่สุด เราเจอทุกวัน ถ้าโง่เราก็จะกดข่ม กระจกเงา ของใจ ส่องให้เราเห็นอะไรบ้าง
มีใครจะโชคดีเท่าเรา ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ถ้าเราขี้เกียจ หรือ หยาบ จะมีชีวิตผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
วันนี้ เรามีโจทย์ที่ต้องทำแยะเลย มนุษย์อยู่โดยลำพังจะไม่มีวันได้ขุดคุ้ยกิเลสออกมาเลย แต่ ถ้าเราหมุนไปตามสิ่งแวดล้อม เราก็งง ยากนะที่จะเห็น เวลาเราไม่มีแรงทำงานนอก เราว่าแย่แล้ว แต่ ถ้าวันไหน ใจมันตื้อๆ ขี้เกียจทำงาน ใจยิ่งวังเวง
ฉะนั้นเราเวลาพบ แต่ ข้อเสีย ของเรา นับว่ายังดี มีงานยากๆ ต้องทำ
วันที่ ๒ ก.ค. ’๓๒
คิดถึง "ชาวแม่ให้ชมร." ยิ่งเมื่อวานเย็น ได้ฟังจาก เพื่อนๆ เล่าเรื่องในร้าน(ชมร.) เราอยากกลับไปร้านอีกแล้ว แม้จะกลัวโรคกำเริบ แต่ เราจะลองประมาณดู ในช่วงแห่งการเผชิญมรสุม ของความเจ็บป่วย เพื่อพิสูจน์ความรู้ที่พระท่านสอน กับความพากเพียร ของเรา
วันที่ ๘ ก.ค. ‘๓๒
ราควรจะนอนนะ แต่ อดไม่ได้ จิตวิญญาณเป็นประธานสิ่งทั้งปวง เราป่วยซะจนเราน่าจะได้อะไรบ้างนะจากความเจ็บป่วย พอเจ็บมากๆ มันมีจิตผีบอกว่า เรียกแท็กซี่กลับบ้าน แต่ นึกได้ว่า ถ้ากลับบ้านก็เรียกว่า ท้อถอย ปาราชิก ปราชัย ทำใจในใจให้ดี และ ตรง คนเกิดมาเป็นมวล ของโลกียะก่อนจริงนะ !
คติวันนี้ "อุปสรรค คือ โจทย์ที่จะพาไปสวรรค์"
วันที่ ๒๐ ก.ค. ‘๓๒
วันนี้สุขภาพดูดีขึ้น แต่ ตอนเช้าขี้เกียจลุกขึ้น แทบจะใช้เสียมแซะ เรายังฟุ้งซ่านเก่งอยู่ เราค่อยๆ ขยันทำงานให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อทดสอบกำลัง
พ่อท่านเทศน์ "ทำดีได้ดีตรงไหน"
ขนาดทำดีอยู่วิบากยังตามเหย็งๆ ถ้าขืนไปทำชั่ว ซวยแน่ๆ ทำหนี้ทิ้งไว้ในโลก เกิดมามี แต่ เจ้าหนี้
คติวันนี้ "ระมัด ระวัง สังวร ทั้งกาย ทั้งใจ"
"ปัญหาใหญ่ที่เป็นจุดบอด ของพวกเรา คือไม่ยอมรับคำติงเตือน ให้สำนึกเสมอว่า เราเป็น..นักปฏิบัติธรรม"
วันที่ ๒๑ ก.ค.’๓๒
สภาวจิตไม่ดีนัก เพราะช่วงนี้ สังขารดึงให้จิตวิญญาณไม่พากเพียรเลย เราจะรู้สึก เราขาดบางส่วน ของชีวิตไป การอยู่ในโลกมี แต่ หัวโดยไม่มีตัวขับเคลื่อนไม่ได้ นับวันเรายิ่งชัดในการรู้จักตนเอง
การไปร.พ.ศิริราชบ่อยๆ ได้ให้ผัสสะ กับเรา ที่เรากำลังปรับปรุงอยู่ เราอ่อนแอลงไปมากในบางจุด แต่ ก็ฉลาด รู้จักหน้ากิเลสเพิ่มขึ้นหลายตัว สิ่งที่ดีที่สุด หลังจากรู้จักกิเลสแล้ว จัดการ กับมันด้วยสำนึก อย่าปล่อยให้โดนจี้แล้วค่อยจัดการ กับมัน
วันที่ ๒๓ ก.ค. ‘๓๒
พ่อท่านเทศน์เรื่อง "ศาสนาคืออะไร" กรรมที่เราทำในชาตินี้ เช่น พฤติกรรม พิธีกรรม กิจกรรม รู้เท่าทันในกรรม ในอารมณ์ รู้จิต มีเจโตปริยญาณ เวลาที่จิตนิ่ง ฟังเข้าใจชัดมาก และ มีความสุข จิตสงบลงทันที
พฤติกรรมที่ถูกต้องสอดคล้อง กับศีลธรรม ทำให้เราได้ปรับปรุง กาย วาจา ใจพิธีกรรมที่ดีงาม คือการฝึกฝน ศึกษา กระทำ เพื่อรังสรรค์สังคม ไม่ได้ทำ เพื่อ ลาภ ยศ สรรเสริญ ย้ำจุดนี้ให้ดีนะ
ศาสนาสากล...โลกียะเป็นสรณะ
ศาสนาพุทธ...ปล่อยวาง ลาภ ยศ เพื่อให้ชีวิตมีคุณค่า
คติวันนี้ “วัตถุไม่สามารถทำให้จิตวิญาญญาณถึงความสงบสุขอย่างแท้จริง”
วันที่ ๒๕ ส.ค. ‘๓๒
กว่าจะแซะสังขารให้เดินมาศาลาได้ มันจะหลับลูกเดียวเพราะฤทธิ์ยา ตราบใดที่ยังอยู่วัด ควรอนุวรรตตามกิจ ของวัด ถ้าไม่ไหวจริงๆ ค่อยว่ากันใหม่
ฟังธรรมวันนี้ ท่านว่า “คนที่โง่ที่สุด ก็คือ คนที่เที่ยวไปรู้คนอื่นหมด แต่ น่าสงสารที่ไม่รู้จักตนเอง มีก็ แต่ ความหลงตนเอง”
ถึงเราจะอ่อนแอ ก็ยอมรับว่า เรามีจุดอ่อน ดีกว่าไปเที่ยวระรานผู้อื่นที่ชี้จุดอ่อน ของเรา
คติวันนี้ “เราต้องตั้งจิตไว้ว่า จะยินดี กับทุกปัญหาที่เราเผชิญ”
วันที่ ๒๘ ก.ค. ‘๓๒
ช่วงนี้รอฟังผล ให้พี่ชุติดต่อรุ่นพี่ให้ช่วยหาเตียงที่โรงพยาบาลให้
การไม่หมั่นพิจารณาใจ ทำให้เราเริ่มเบลอ เราเจอการยัดเยียด เราไม่ชอบฉันใด ก็อย่ายัดเยียดผู้อื่นฉันนั้น
รากำลังต่อสู้ กับใจตัวเองอย่างหนัก เราอดไป ทนมา ป่วยหลายเดือนแล้ว จนเราจะหมดความอดทนแล้ว ถ้าอดทนอีกนิดเดียว ก็จะผ่านแล้ว อดทนอีกนิดเถอะ
คติวันนี้ “ไม่มีการท้อถอย ไม่มีข้ออ้าง ทำซ้ำซาก ถ้าหวังอะไรก็ต้องเบื่อ แต่ ทำด้วยไม่หวัง กลับไม่เบื่อ”
วันที่ ๕ ก.ย. ‘๓๒
ที่โรงพยาบาลศิริราช จากตึกตั้งตรงจิต ย้ายมาตึกผะอบชั้น ๖ ได้เตียงแล้ว อยู่ กับเด็กๆ ตัวเล็กๆ ทั้งนั้นเลย
ได้รับคำสั่งมาแล้ว จะทำการเปลี่ยนลิ้นหัวใจแน่นอน ต้องห้ามทำงานหนักตลอดชีวิต ห้ามกินเค็มตลอดชีวิต ชีวิตการทำงาน ของเราหมดโอกาสทำงานหนักแล้ว รู้สึกเสียดาย แต่ คงทำงานอื่นได้หรอก
ในขณะรอฟังผล ว่าจะได้เตียง หรือ ไม่ จับเจออารมณ์จิตที่เราไม่อยากแย่งใครๆ เลย โชคดีที่เด็กที่เราคิดว่าเขาควรจะได้เตียง ก็ได้เตียงพร้อมเรา กำลังร้องไห้กันใหญ่ ตัวเล็กๆ ทั้งนั้น เด็กยังไม่มีกิเลสมาก ก็ร้องไห้ระงม หา แต่ แม่ ที่พึ่งใหญ่ ของเด็ก
ตึกนี้บรรยากาศดีมาก มี แต่ เด็กๆ น่ารักๆ ต่อจากร้องหาแม่ ก็ร้องไห้จะกลับบ้าน เราจะพากันติดยึดสิ่งที่ใกล้ตัวเสมอ ผู้ใหญ่ยิ่งผ่านโลกมาก ยิ่งมีสิ่งติดยึดมาก (ถ้าขาดธรรมะ)
วันที่ ๕ ก.ย. ‘๓๒
"ศิริราช"...เมื่อคืนนอนไม่ค่อยหลับ คงเพราะบรรยากาศที่แปลก จึงไม่เคยชิน
เด็กเลิกร้องแล้ว สอนให้รู้ว่า เด็กไม่ติดยึดอะไรนานนัก ผู้ใหญ่ต้องหัดใจแข็ง ช่วงนี้ไข้หวัดกำลังระบาด เด็กๆ เป็นไข้กันหลายคน
พยาบาลที่นี่ มีเมตตาดีมาก การบริการก็ดี
วันนี้ แม่ กับน้องมาเยี่ยม
(พบกันตอนอวสานในฉบับหน้า)
(สารอโศก อันดับ ๑๕๓ ฉบับที่ ๗-๘ ปีที่ ๑๒(๑๕) ก.พ.-มี.ค.๒๕๓๕)
ฝากไว้ในแดนธรรม ตอน ๑๒ (ตอนจบ)
ตอน เตรียมผ่าตัด !
วันที่ ๖ ก.ย. ‘๓๒
เมื่อคืน จับเจอว่าที่ไม่หลับเพราะที่นอนนิ่ม กับอากาศร้อน พยายามหลับ ตี ๕ ต้องพยายามตื่น
วันนี้อาจารย์จรัล มาตรวจอาการ ถ้าเราไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็คงจะได้จัดการผ่าวันจันทร์
ปากไม่เขียว แต่ ตาเขียวอยู่ (เพราะอากาศที่นี่ร้อน)
แม่ กับน้องมาเยี่ยมอีก ขน ของมาอีกมากมาย
วันพุธหลับนิดเดียว เพราะคนเดินกันไม่หยุด เราเป็นคนฟุ้งซ่าน เลยไม่หลับทั้งคืน
เช้าง่วง
มีเด็กทยอยกันเข้ามา ทั้งจุก และ แกละ และ ไม่มีทั้งสองอย่าง แต่ ที่เหมือนกันคือ ร้องไห้ คิดถึงบ้าน กับแม่กันระงม เด็กบางคนต้องการเพียงผู้เข้าใจ กับ เพื่อน ไม่ติดยึดตัวบุคคลนัก
มาที่นี่สอนอะไรเราเอ่ย
เราเองโตแล้ว ไม่ติดยึดบุคคล สถานที่ แต่ เราก็ยังติดยึด เสียดายเวลาที่ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
คติวันนี้ “อยู่ในโลก ถ้าช่วยอะไรใครได้ ควรทำให้คนอื่นมีความสุข”
วันที่ ๗ ก.ย. ‘๓๒
แม้มาอยู่ในโรงพยาบาล ก็ยังประมาท ไม่เคยคิดถึงความตายอยู่ดี
ได้คิด ก็ปล่อยวาง มีเท่านี้เล็กเท่านี้ แล้วค่อยไปแก้ไขปัญหากันใหม่
เมื่อวาน ทางวัด กับที่บ้านทยอยกันมาเยี่ยมจนเราปวดหลัง ของเยี่ยมก็ล้นแล้วล้นอีก ญาติธรรมที่มาให้เลือด ก็ยังอุตส่าห์ซื้อ ของมาฝาก ทำให้เด็กๆ ข้างเตียงได้รับน้ำใจจากพวกเรา จนอาการขาดความรักหายไป จิตวิญญาณในการแจกจ่ายเผื่อแผ่ความรัก ทำให้โลกนี้น่าอยู่อย่างมาก
ช่วงนี้ในโรงพยาบาล เป็นช่วงที่บรรยากาศเต็มไปด้วยความรัก ความมีน้ำใจ
วันนี้นอนด้วยความสดชื่น เพราะนอน กับพัดลมตัวใหญ่ หลับสบายจนเช้ายังไม่ยอมลุก
คติวันนี้ "ชีวิตที่ไม่มีกฎเกณฑ์ เราต้องระวังอย่าติดจนต้องทุกข์ "
วันที่ ๘ ก.ย. ‘๓๒
ผลจากพัดลมที่ว่าสบาย คือ ขี้มูกไหล เจ็บคอ และ ไอ
วันนี้ผลจากการรับแขกมาก เสียดท้อง และ เหนื่อย หมอให้ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อักเสบแล้ว วันนี้ข้าวไม่กิน กินน้ำหวาน ถือว่ายาดีค่ะ
คติวันนี้ "น้ำใจที่ล้นหลาม ก็ทำให้เราทุกข์ได้" (ก็ทุกขขันธ์ในขณะนี้ไง)
วันที่ ๑๐ ก.ย. ‘๓๒
วันนี้พยายามอย่างยิ่งในการพยายามกินลงไปในท้อง แต่ ก็ยากเหลือเกิน ไม่รู้ว่าผล ของการไม่กิน จะเกิดอะไรขึ้นหลังทำการผ่าตัด ( แต่ วันนี้ก็เหนื่อยน้อยกว่าเมื่อวาน)
คติวันนี้ "ความเจ็บป่วยเป็นทุกข์อย่างยิ่ง"
วันที่ ๑๑ ก.ย. ‘๓๒
กำหนดนัดผ่าตัดต้องเลื่อน! เพราะเรามีอาการปวดท้อง
วันที่ ๑๒ ก.ย. ‘๓๒
ที่ "ศิริราช"...ค่อยหายปวดท้อง มีแรงขึ้นมาหน่อย ก็เดินสำรวจไปทั่วๆ ชีวิตทุกคน ต้องมีความเกี่ยวข้อง ต้องมีสายสัมพันธ์ ทำอย่างไร จะไม่ทุกข์ กับสายสัมพันธ์
วันนี้เจออาจารย์กัมพล ประจวบเหมาะ ยังทรงภูมิสง่างาม ฟังอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์ ดูคุยสนุก หมอที่ดีต้องละเอียด ปฏิภาณเยี่ยม ความจริงเราผ่าตัดช้านี่ก็โชคดีหลายอย่างนะ ได้พบ กับอาจารย์กัมพล ทั้งๆ ที่ท่านได้เกษียณอายุแล้ว วันนี้คงได้รับเชิญมาสอนพิเศษ
ในการศึกษา ทางโลก หรือ ธรรม สิ่งที่สำคัญ คือ การมีครู อาจารย์ ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้ กับศิษย์
คติวันนี้ “ไหวพริบ ปฏิภาณ ความไม่ยอมแพ้ ไม่ท้อแท้ กับอะไรง่ายๆ จะนำมาซึ่งผลสำเร็จในที่สุด”
วันที่ ๑๔ ก.ย. ‘๓๒
เรามีนิสัยเสีย ใจร้อนจริง ไม่เคยอดทนอะไรได้นาน ต้องบ่นจนมีคนเดือดร้อน ในชีวิตทุกชีวิตในโลก ถ้าอยู่อย่างไม่มีธรรมะ อยู่ยากนะ ถ้าเรายึดถือ เราก็จะทุกข์
ได้ฟังประสบการณ์ จากผู้ที่ผ่าตัดก่อนหลายราย เราคงต้องอาศัยเจโตอย่างยิ่ง เราตั้งใจจะอดทนอย่างยิ่ง
วันนี้ก็ยังรบกวน ให้แม่ต้องลำบากอีก
มนุษย์ในโลกนี้ มีสิ่งที่เราอยู่ เพื่ออาศัยเรียนรู้จริต แม้ในเด็กเล็กๆ ก็รู้จักใช้มายา เรารู้ เพื่ออะไร เราจะอยู่อย่างเห็นแก่ตัว หรือ อยู่อย่างเสียสละ
คลื่นผัสสะที่กระทบเราทุกผัสสะ มีมา เพื่อให้เราวัดจิตใจ สติปัญญา ของเรา ว่าเรามีความอดกลั้น อดทน เสียสละแค่ไหน
วันที่ ๑๕ ก.ย. ‘๓๒
วันศุกร์อีกแล้ว คนในร้านทำให้เราตื้นตันใจ ตั้งไกลก็ยังอุตส่าห์เอาอาหารมาให้ "คุณสมชาย" อาสานำอาหารมาให้ อาแจ้ก็อุตส่าห์เจียดเวลามาเยี่ยม ในโลกนี้เราเกิดมาทำไมนะ ถ้าเกิดมาแล้วชีวิตไร้ค่า
ครั้งนี้เราคงกลับออกไปอย่างฉลาดขึ้นนะ รู้พักรู้เพียร
วันที่ ๑๗ ก.ย. ‘๓๒
พรุ่งนี้ คงพร้อม สุขภาพทั่วไปใช้ได้ อาการเหนื่อยก็ดี อยู่ในเกณฑ์ดี ตอนนี้ต้องกัดฟันที่สุดคือ ต้องพยายามอดทน ต่อสู้ กับความเจ็บปวดให้ได้มากที่สุด
วันที่ ๑๘ ก.ย. ‘๓๒
วันนี้ สุขภาพดี พร้อม แต่ สิ่งที่เตือนเราอยู่คือ คนไข้ร้องว่า "ทรมาน" เราปฏิบัติธรรมมาหลายปี จะทนได้เท่าไหร่กัน
และ ทั้งหมดนี้ก็คือ บันทึกสุดท้าย ก่อนที่ คุณลักขณา (เล็ก) จะเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ และ รักษาตัวอยู่จนเสียชีวิตไปในที่สุด เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓
ชีวิตเธอผู้ดำรงวิถีอยู่บนเส้นทางแห่งสัมมากัมมันตะ ยามมีชีวิตอยู่ เธออยู่อย่างผู้เสียสละ ปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง และ เป็นประโยชน์ต่อสังคม
แม้ยามชีวิตหาไม่แล้ว เธอก็จากไปเพียงร่าง แต่ แบบอย่างความดีที่เธอทำ มันยังแฝง และ ยังย้ำในดวงใจเราทุกคน
จะเห็นได้ว่า ยามขณะป่วย ความพากเพียร ของเธอก็ไม่ลดละ แปรพลังป่วยมาเป็นบันทึกให้พวกเราได้ศึกษาจนกระทั่งวันนี้ และ นี่คือ..."ฝากไว้ในแดนธรรม"
คติสุดท้ายจากหน้าบันทึก...
"ผู้ให้ที่ดีเป็นอิสระจากการให้ ผู้รับที่ดีฝึกฝนการให้แทนการจดจำ"


หนังสือพิมพ์สารอโศก อันดับที่ 153

ฉบับเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2535

นั่งสมาธิหลับตากันทำไม


นั่งสมาธิหลับตากันทำไม ?

น้อยคนนัก ที่จะรู้จริงว่า การนั่งสมาธิภาวนานั้น เขานั่งกันทำไม ? แม้ผู้ที่ได้ทำการนั่งสมาธิมา ๓๐ ปี ๔๐ ปี แล้วก็ตาม แต่ไม่เกิดปัญญา ไม่บรรลุแจ้ง แทงทะลุได้ ก็เพราะเหตุ ไม่เข้าใจตรงทาง ไม่รู้จุดหมายแท้ แห่งศาสนาพุทธ นั่นเอง โดยได้หลงเข้าใจผิดตามทางอื่น ไปหลงเข้าใจไกลจุดแท้ ของศาสนาพุทธ อยู่นั่น ทีเดียว จึงไม่บรรลุ ไม่เห็นแจ้ง และไม่สำเร็จ ในวิชา "พุทธศาสนา" ได้สักที

"พุทธ"พาคนให้"พ้นทุกข์""ศาสนาพุทธ" สอนให้คน "พ้นทุกข์" จำไว้ให้ดี และ นำไปคิด ให้เห็นแจ้งก่อนอื่น ทีเดียว
"ศาสนาพุทธ" ไม่ได้สอนให้คนเป็น "คนเก่งในอภิญญา" ใดๆ เป็น "จุดเอก" แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้บรรลุพุทธศาสนา จะไม่มี "อภิญญา" มีได้เป็นได้ แต่ไม่ใช่จุดเอก ไม่ใช่จุดแท้ จุดเอก จุดแท้ อันเป็นเงื่อนต้น หรือ เป็นเบื้องต้น เป็นจุดสำคัญ จุดแรก ที่พุทธศาสนิกชน จะต้องตั้งทิศ ให้ตรง มุ่งหมาย ให้ได้ก่อน "วิชชา" อื่นๆ หรือ ก่อน "อภิญญา" ใดๆ ก็คือ "อาสวักขยญาณ" ที่จะทำให้เรา "พ้นทุกข์อริยสัจ" นั่นเอง

สุดยอดวิชาของพุทธ "อาสวักขยญาณ" คือ ญาณอย่างไร ?"อาสวักขยญาณ" ก็คือ ปัญญาอันแหลมคม ละเอียดอ่อน ที่สามารถจะรู้ ความกระเพื่อมไหวของ "จิต" ตัวเองได้ แม้จะกระเพื่อมไหวอย่างอ่อน อย่างเบา อย่างบาง อยู่สุดซึ้ง ก้นบึ้งของ "จิต" ของเรา ก็สามารถ จับได้ไล่ทัน อ่านออก ทุกขณะ และ ทุกดวงแห่ง "จิต" ที่มัน "เกิด" (อันคนธรรมดา จะไม่รู้ได้เป็นอันขาด เป็น "ความไว" ของประสาท สัมผัส ชั้นยอดเยี่ยม ที่เหนือยิ่งกว่า "มิเตอร์" ทางวัตถุใดๆ จะเป็นได้) นอกจากจับ "จิต" ที่ "เกิด" ได้ทุกดวงแล้ว ยังสามารถ ลึกทะลวง ทะลุลงไป ล่วงรู้แจ้ง "เหตุ-ปัจจัย" ที่มาปรุงแต่งให้ "จิต-ขั้นลึก หรือ จิตอันบางเบา" (อาสวจิต) นั้นๆ "เกิด" ได้ด้วย และสามารถ ที่จะ "ดับ" ความ "เกิด" นั้น ได้ด้วยตน ในทุกขณะ ที่ต้องการอีกด้วย จึงไม่ใช่เรื่องอื่น ไม่ใช่ "งาน" อื่น ไม่ใช่ภาระอื่น และไม่ใช่ "ความเก่ง" อย่างอื่น เป็นอันขาด
แม้จะเป็น "ตาทิพย์" เป็น "หูทิพย์" เป็นผู้รู้ "ระลึกชาติได้" หรือ เป็น "การรู้ชาติกำเนิด ของผู้อื่น รู้วาระจิต ของผู้อื่น" ก็ตาม ก็ไม่ใช่ "วิชชา" หรือ ไม่ใช่ "ความเก่ง" ที่เป็น "เงื่อนต้น" หรือ "จุดสำคัญจุดแรก" เป็นอันขาด "ความเก่ง" หรือ "วิชชา" ที่จะต้องมุ่งเพียรให้บรรลุสำเร็จแจ้งให้ได้ ก็คือ ให้รู้ว่า "ทุกข์" คืออะไร ? และ จะทำการ "หยุดทุกข์" นั้น ได้อย่างไร ? แล้วก็ทำให้ได้ เท่านั้นเอง จึงควรจะ "พิจารณา" คำว่า "ทุกข์" ให้ออก


แล้วเราจะเข้าใจ จะรู้แจ้งว่า ที่คนไปนั่งหลับตา ทำสมาธิกันนั้น เขานั่งกันทำไม?และนั่งเพื่อให้อะไรมัน "เกิด"? ใครทำถูกอยู่? ใครทำผิดอยู่? เราก็จะรู้ได้ ด้วยผลจากการฝึกฝน จนลุถึง "อรูปพรหม" ลัทธิการนั่งหลับตา ทำสมาธินั้น มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ก่อนสมัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดเสียอีก แล้ว "ผลได้" จากการนั่งหลับตาบำเพ็ญตบะนั้น ก็มี ก็เกิดออกมา ตามอายุกาลของ ความจริงที่ได้กระทำ คือ เมื่อฝึกหัดนั่งไปนาน สภาวะที่จะออกมาเป็น "ผล" ในแง่ใดแง่หนึ่ง ที่มันเป็นได้ เกิดได้ ก็ย่อมจะ "เกิด" เมื่อทำ "เหตุ" บำเพ็ญ "ปัจจัย" ได้ครบ ได้เต็ม ห้ามไม่ให้มัน "เกิด" ก็ไม่ได้เอาด้วย เช่นว่า คนผู้บำเพ็ญเพ่งเล็ง "น้อมจิต" ใฝ่เพียรทำ "จิต" เพื่อให้นิ่ง ให้มี "พลัง" ในทาง "ระงับความรู้สึก" ที่จะเกิดมา กระทบสัมผัส "ร่างกาย" ของตน ถ้าเขาผู้นั้น ได้สร้างแบบฝึกหัด หรือ ก่อเหตุก่อปัจจัยไป จนถ้วนพอ หรือ ครบจำนวน "ผล" คือ เป็นผู้พร้อมทนหนาว ทนเจ็บปวด ทนการกระทบ สัมผัสต่างๆ อันหนักหนา ที่มนุษย์ธรรมดา ทนไม่ได้ อย่างนั้น นั่นก็เป็น "ผล" ของลัทธิอื่น ที่เขาทำกัน เขาเพ่งเล็ง และเขาก็เรียก "ผล" เช่นนั้นของเขาว่า "นิพพาน" ก็มี พวกที่ทำอย่างนี้ มุ่งอย่างนี้ เป็น "จุดเอก" ก็คือ พวกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเรียกว่า "อุปาทาน" และ "อรูปพรหม" จนลุถึง "อสัญญีพรหม" หรือคน ผู้บำเพ็ญเพ่งเล็ง "น้อมจิต" ใฝ่เพียรทำ "จิต" เพื่อให้นิ่ง ให้ดับ ให้ขาดจากร่างกาย อย่างแท้จริง เหมือนอยู่กันคนละส่วน คนละอัน "จิต" ก็แยกจากร่างกายไป "ร่างกาย" ก็แข็งทื่อ นิ่งอยู่ต่างหาก ไม่มี "จิต" ครอง ถ้าเขาผู้นี้ ได้สร้างแบบฝึกหัด หรือก่อเหตุ ก่อปัจจัย ไปจนครบถ้วนพอ หรือ ครบจำนวน
"ผล" คือ เป็นผู้ทนได้ทุกอย่าง ทนแม้กระทั่งดิน ฟ้าอากาศ จะแปรเปลี่ยนอย่างไร ก็ยังสามารถทนได้ เช่น ไฟเผาก็ไม่ไหม้ ทิ้งน้ำก็ไม่จม มีดฟันก็ไม่เข้า เป็นต้น อย่างนี้ ก็มี นั่นเป็น "ผล" ของลัทธิอื่นเขาทำกัน เขาเพ่งเล็งกัน และเขาก็เรียก "ผล" เช่นนั้น ของเขาว่า "นิพพาน" ก็มี พวกที่ทำอย่างนี้ มุ่งอย่างนี้เป็น "จุดเอก" ก็คือ พวกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเรียกว่า "อสัญญีพรหม" เก่งจริงๆ ราวกับเล่นกล "เดรัจฉานวิชชา" หรือ ยิ่งคนผู้บำเพ็ญเพ่งเล็ง "น้อมจิต" ใฝ่เพียรทำ"จิต" เพื่อให้จิต "มีพลัง" แล้วนำ "พลังจิต" นั้น ไปสร้างฤทธิ์ สร้างอภินิหาร ปาฏิหาริย์ ต่างๆได้ แล้วก็เที่ยวนำออกแสดง "ผล" อย่างนี้ ก็มี และเป็นจริงได้ ซึ่งก็เป็นของลัทธิอื่น เขาทำกัน เขาเพ่งเล็งกัน แต่ "ผล" อย่างนี้ แม้ศาสดาของลัทธิเช่นนี้ เขาก็ยังไม่กล้าเรียก "ผล" อย่างนี้ ของเขาว่า "นิพพาน" แต่เขาเรียกของเขาว่า "วิชชา" หรือเป็น "อภิญญา" ของเขา พวกที่ทำอย่างนี้เป็น "จุดเอก" ก็คือ พวกที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเรียกว่า พวกสำเร็จ "เดรัจฉานวิชชา" เพราะเป็น "วิชชา" ที่ยังไม่ช่วยตนให้พ้นความเป็น "สัตวโลก" ยังเป็น "วิชชา" ที่ยังมีความหลง ความพึงพอใจ ความถือว่า ตนเก่ง ความอวดรู้ อวดผล เพื่อตำแหน่ง อันนำมาซึ่ง ลาภ-ยศ-สรรเสริญอยู่
ดังนั้น "วิชชา" ตามที่ยกตัวอย่างมา ทั้งหลายนั้น จึงยังไม่ใช่ "จุดเอก" ไม่ใช่เรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง ของพุทธศาสนา

จุดเอก จุดเด่น สุดสำคัญ ของพุทธวิชชา
"จุดเอก" หรือเรื่องสำคัญ อันดับหนึ่ง ของพุทธศาสนา จึงคืออะไรกันแน่ ?
"จุดเอก" ของพุทธ ก็คือ ต้องแทงทะลุ "ทุกขอริยสัจ" ด้วย "ปัญญาญาณ" ให้ได้นั่นเอง ยังไม่ต้องไป คำนึงถึง "ผลอื่น"
ยังไม่ต้องถึงกับทนร้อน ทนหนาว ทนเจ็บปวดได้ หรือ ยังไม่ต้องถึงกับ สามารถแยก "จิต" แยก "กาย" ให้ขาด จากกัน จนเป็น "นิโรธสมาบัติ" ขั้นไฟเผา ก็ไม่ไหม้ มีดฟันก็ไม่เข้า หรือ ยังไม่ต้องสามารถแสดง "อภินิหาร" อะไรได้
"ผล" เหล่านั้น เป็น "ผลส่วนเกิน" เป็นความสามรรถของจิต ที่จะพึงเกิดเอง เป็นเอง มีมาเอง เมื่อ "เหตุ" และ "ปัจจัย" ครบถ้วน ตามฐานะ ของแต่ละบุคคล ผู้มี "เพียร"
"เงื่อนต้น" หรือ "จุดเอก จุดแรก" ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ถึงให้พุทธศาสนิกชน มุ่งเพียรบำเพ็ญ และ ทำให้ได้ก่อนอื่น
จึงคือ "ผล" อันนี้ "ผล" อย่างนี้ จึงจะเรียกว่า "ถูกทาง"
ดังนั้น คำว่า "สีลัพพตปรามาส" จึงมีความหมายเพียง "ถูกทาง" ตรงทางเท่านั้น
บุคคลใด แม้จะได้บำเพ็ญจิต (โยคะ หรือตบะ) มาอย่างเก่ง อย่างสูงเท่าใด ถ้ายังไม่เข้าใจ "จุดเอก" ยังไปมัวเมาใน "วิชชา" อย่างอื่นอยู่ จึงเรียกว่ายังมี "วิปัสสนูปกิเลส" อยู่ทั้งสิ้น
จึงคือผู้ยังไม่ได้เข้าอันดับเป็น "สมณะ" ของ "พุทธวิชชา"
จนกว่าจะจับจุดเอกได้ และเริ่มเดินทางถูก จึงจะได้ชื่อว่านักศึกษา ขั้นผ่านการสอบคัดเลือก เข้ามาได้ คือเรียกว่า เริ่มเป็น "พระโสดาบัน"
การบำเพ็ญจิตให้ลุถึง "พระนิพพาน"
เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญ "จิต" เพื่อให้บรรลุ "นิพพาน" สำเร็จเป็น "พระอรหันต์" ของศาสนาพุทธ หรือ ตามลัทธิของ พระสมณโคดม จึงไม่ต้องมีฤทธิ์เดช ดังตัวอย่าง ที่ยกมาแล้ว แต่สามารถมี "จิต" มี "กาย" มี "วาจา" บรรลุธรรมถึงขั้น "สงบ" ได้อย่างจริงแท้ ก็เป็นอันเพียงพอ สำหรับตำแหน่ง ที่จะเรียกว่า "อรหันต์"
แม้ยังไม่มีฤทธิ์ใด เดชใด อันเรียกว่า "อิทธิปาฏิหาริย์" ซึ่งคือ ปาฏิหาริย์ ทางแสดงให้ตนเห็นผล แปลง "รูป" หรือ ทำรูป ทำตัวตน ทำวัตถุ ให้เป็นของน่าทึ่งได้
เช่น เสกเป่าบันดาลของ ให้เป็นไปตามต้องการ หรือ ทำตนให้เหาะได้ หายตัวได้ เป็นต้น
และที่เรียกว่า "อาเทสนาปาฏิหาริย์" ซึ่งคือ ปาฏิหาริย์ทางแสดงออก ให้คนเห็นผลทาง "นาม" หรือ สามารถ ทำให้คนทึ่งได้ โดยทายจิต ทายใจ หรือ สามารถใช้จิต กำหนดหยั่งดิน ฟ้า อากาศ หยั่งนรก-สวรรค์ได้ เป็นต้น
ผู้ที่ได้ตำแหน่ง "พระอรหันต์" ในพุทธศาสนา จึงไม่ใช่บุคคล ในประเภทมี "ปาฏิหาริย์" ดังกล่าวนั้นเลย
แต่พระพุทธองค์ระบุว่า จะต้องมี "อนุสาสนีปาฏิหาริย์" ซึ่งคือ "ปาฏิหาริย์" ในการรู้แจ้ง "เหตุ" และ "ผล" ของความจริงแท้ แน่ชัด รู้อย่างทำได้ และบอกได้ อธิบายถึงที่เป็นไปอย่างนั้น ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วย
อย่างต่ำที่สุด ก็ต้องรู้ว่า "ทุกข์" คืออะไร ?
"เหตุ" แห่งทุกข์ คืออะไร ?
อาการของ "ความดับ" แห่งทุกข์นั้น เป็นอาการอย่างไร ?
และทางที่จะทำให้ "เกิดความดับ" แห่งทุกข์นั้น ประกอบไปด้วยอะไร ?
เท่านี้ เท่านั้นเอง เป็น "ความเก่ง" เป็น "ความรู้ยิ่ง" ของผู้ที่ได้ชื่อว่า "อรหันต์" หรือผู้สำเร็จ "วิชชาอรหันต์"
จะเรียกว่า เป็น "บัณฑิต" หรือ ผู้จบปริญญาตรี ก็ได้

ใบไม้นอกกำมือที่อาจมีได้
ส่วนจะมี "พลังจิต" เข้มแข็ง มีอำนาจจิต สูงขึ้นไปอีก จนสามารถทำ "อิทธิปาฏิหาริย์" ได้ และสามารถทำ "อาเทสนาปาฏิหาริย์" ได้ ก็ไม่ใช่ความผิด หรือความยุ่งยากอะไร สำหรับ "พระอรหันต์"
ท่านอาจมีได้ เป็นได้ และแม้มีแล้วในตน เป็นแล้วในตน
พระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งความทุกข์ และ การดับทุกข์แล้ว ท่านก็จะไม่หลง ไม่งมงาย ที่จะ "ยึด" ไม่ติดใจ ที่จะมัวเมาในฤทธิ์ ในปาฏิหาริย์ เหล่านั้น
ท่านจึงจะไม่เป็น "รูปพรหม" ไม่เป็น "อรูปพรหม" ไม่เป็น "อสัญญีพรหม" และย่อมจะไม่ข้องอยู่ เป็นสัตวโลก ในวัฏสงสารอีก
ด้วยเหตุดังนี้ "พระอรหันต์" แต่ละองค์ จึงมี "อภิญญา" หรือ "ความเก่ง" สำหรับตนไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน
เช่น พระโมคคัลลานะ ก็เก่งทางแสดง อิทธิปาฏิหาริย์
พระอนุรุทธะ ก็เก่งทางแสดง อาเทสนาปาฏิหาริย์
ส่วนพระสารีบุตร ไม่เก่งในปาฏิหาริย์ทั้งสองนั้นเลย แต่เก่งทางอนุสาสนีปาฏิหาริย์ จึงได้รับยกย่อง เป็นพิเศษ กว่า พระอรหันต์องค์อื่นๆ
และ พระอรหันต์อื่นๆ บางองค์ (ซึ่งมีจำนวนมากเสียด้วย) ก็ไม่มีปาฏิหาริย์ใดๆเลย เป็นเพียงมี "ความรู้แจ้ง" พอตัว รู้จัก ทุกข์ - เหตุแห่งทุกข์ - อาการของความดับแห่งทุกข์ - และ ทางที่จะทำให้ตน พ้นทุกข์ เท่านั้นเอง ที่ทุกองค์ มีเท่าๆกัน
เช่น พระยศ พระภัททิยะ พระราหุล พระอุบาลี เป็นต้น
ท่านเหล่านี้ (เท่าที่เอ่ยพระนามมานั้น) ต่างก็ได้รับยกย่อง แตกต่างกัน จากพระพุทธองค์ทั้งสิ้น แต่เป็น "ความเก่ง" ในทางส่วนตน อันไม่เป็นปาฏิหาริย์ หรือ ความเก่งที่คนจะหลง จะทึ่ง ถึงสนเท่ห์แต่อย่างใด

อรหันต์ ย่อมรู้แจ้งในอริยสัจ ๔
ดังนั้น ความเป็น "บัณฑิต" ของ"พุทธศาสตร์ หรือ การจบปริญญาตรี ทางพุทธศาสตร์ จึงคือ การรู้แจ้ง แทงตลอด "อริยสัจ ๔" นั้นเท่านั้น ที่ทุกองค์ ต้องมีประดับตนให้ได้
อันมีรู้ทุกข์แท้ๆ รู้อาการของ ความดับแห่งทุกข์แท้ๆ และรู้จักทาง ที่จะนำพาตน ไปสู่ความดับทุกข์แท้ๆ ให้ได้ นี่แหละคือ "อรหันต์" ขั้นต้น อรหันต์แท้ๆของ "พุทธศาสนา"
เมื่อพระอรหันต์ท่านเหล่านั้น จบปริญญาตรีแล้ว ท่านจะบำเพ็ญ จิตของท่าน ให้บรรลุ "อภิญญา" อื่นๆ
สำเร็จ "วิชชาอิทธิปาฏิหาริย์-อาเทสนาปาฏิหาริย์ -และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ที่กว้างขวางยิ่งๆ ขึ้นไป" อีกนั้น ก็เป็นเรื่อง ของท่าน เป็นการสั่งสม บารมีของแต่ละองค์ อันจะเป็น ปริญญาโท ปริญญาเอก ดังเช่น พระอนุตตร สัมมาสัมพุทธเจ้า ของเรา ผู้มีครบได้ ทุกปาฏิหาริย์ ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะ เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ และ จะเป็นไป ดังนั้นด้วย
ความเป็น "บัณฑิต" ของ "พระอรหันต์" ดังกล่าว ก็มิได้สูญสิ้นไป แต่จะเป็น "บัณฑิต" ที่มี "วิชชา" เพิ่มเติมมา สูงขึ้นๆ ไป ตามความเป็นจริง
ผู้ที่ยังเข้าใจว่า "อรหันต์" คือ "การจบ" การสิ้นสุดแล้ว ไม่มีการได้อะไรอีก ไม่มีการเรียนอะไรอีก หรือ ไม่ก่ออะไรต่อ จึงต้องพยายาม ทำความเข้าใจให้ได้ จงอ่านให้ออก เข้าใจให้ถูก

อรหันต์ย่อมไม่หยุดในกุศลทั้งปวงพระอรหันต์ท่านต่างๆ ไม่มีองค์ไหน "หยุด" จริงๆ
ทุกองค์ยังบำเพ็ญต่อ ทุกองค์ยังศึกษาต่ออยู่ทั้งสิ้น มีการถกปัญหาธรรม มีการบำเพ็ญธุดงคธรรม มีการได้ อภิญญาธรรม มาเพิ่มเติม อยู่เสมอทั้งสิ้น
แม้พระพุทธองค์เอง ก็ไม่เคยปล่อยปละละเลยการบำเพ็ญ จงทำความเข้าใจ ให้ถ่องแท้
แต่มันก็ยากเหมือนกัน ที่จะเข้าใจดังนี้ได้ เพราะ "ปฏิเวธธรรม" มันคือ "ปัจจัตตัง" และ "สันทิฏฐิโก" มันคือ อาการส่วนตน เฉพาะตน เท่านั้น
ผู้ยืนอยู่บันไดขั้นที่ ๑ ย่อมเห็นขั้นที่ ๒ พอได้ จะมองไปดูขั้น ๓ ก็ยาก ยิ่งมองดูขั้น ๔ ขั้น ๕ อันยิ่งสูงขึ้นไป ก็ยิ่งจะเห็นชัด เห็นแจ้ง ได้ยากยิ่งขึ้น
ต้องผู้ไปยืนขั้นนั้นๆจริงๆ จึงจะเห็นขั้นที่ตนยืน และขั้นที่ สูงขึ้นไปกว่า ได้อย่างถูกกว่า ไปตามลำดับได้จริงๆ และไม่ผิดเพี้ยน หรือ เดาสุ่ม ด้วย "จุดเอก" ของพุทธ เป็นดังนี้ การนั่งหลับตา สมาธิภาวนา จึงไม่จำเป็นนัก สำหรับ "เงื่อนต้น"
พระพุทธองค์ จึงมีวิธีให้แก่พุทธบริษัท เรียกว่า "สติปัฏฐาน ๔" คือ ให้หัดมี "สติ" หรือ หัดอย่าลืมตัว อย่าทำอะไร ก็ทำไปโดยไม่รู้ ว่า เรากำลังทำอะไร ?
ต้องทำอย่างมี "ความรู้ตัว"  ทุกขณะ แม้จะ "คิด" จะ "พูด" จะ "ลงมือทำ" จริงๆ ก็ต้องให้รู้ใน "กรรม" หรือใน "การกระทำ" นั้นๆ ของตนให้ได้
แล้วก็ต้องใช้ "ปัญญา" พิจารณาใน "การกระทำ" ของเราให้ออกว่า สิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่นั้น เรา "ทำดี" หรือ "ทำชั่ว"
ถ้าแจ้งใจว่า "เรากำลังทำดี" ก็จงทำต่อไป
ถ้าแจ้งใจว่า "เรากำลังทำชั่ว" ก็จงระงับการกระทำนั้นให้ได้
โมหบุคคลถ้าผู้ใดไม่รู้เลยว่า ที่ตนกำลังทำอยู่นั้น ว่า เป็น "ดีหรือชั่ว"
(อันนี้สำคัญ คนทุกคนเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น ทุกคนไม่รู้ตัว อย่างแท้จริง แต่สำคัญตนว่า ตนรู้ แต่แท้จริง "รู้" ตามอำนาจ ของกิเลส ตัณหา มันครอบงำ ปิดบังอยู่ จึงนึกว่า ตนทำดีอยู่ทุกที แท้จริง ทำเพื่อเห็นแก่ตน ลองคิดดูให้ดี)
คือ ทำไปตามความเคยของใจ หรือทำไปตามอย่าง คนส่วนมากในโลก ก็เรียกว่า ยังโง่ คือ ยังมี "โมหะ"
ถ้าผู้ใดรู้แจ้งได้ว่า "เป็นดีหรือชั่ว" เรียกว่า ผู้นั้นเป็น "ผู้พ้นโมหะ" (อย่างหยาบ)
และผู้ที่รู้นั้น ถ้ารู้ว่าสิ่งที่ตนกำลัง กระทำอยู่นั้น เป็น "ชั่ว" แต่ก็ยังทำอยู่ หยุดไม่ได้ อดทำไม่ได้ ตัดไม่ขาด ทั้งๆที่รู้แสนรู้ ผู้นั้นก็คือ ผู้ที่ยังมี "โลภะและโทสะ" อยู่ และ ก็ยังดีที่ "พ้นโมหะ"

ผู้ชนะที่แท้จริงถ้ายิ่งผู้นี้รู้ได้ด้วยว่า "ตนกำลังทำชั่ว" แล้วก็ตัดใจระงับ การกระทำนั้น ลงให้ได้ อย่างเด็ดขาดด้วย คนผู้นั้นก็ "พ้นทั้งโลภะ และโทสะ" (คือ บางที สิ่งที่กำลังกระทำนั้น อาจจะเป็น "โลภะ" บางทีก็อาจจะเป็น "โทสะ")
ผู้นี้จึงคือ ผู้ที่ "ชนะ" เป็นผู้บรรลุ เป็นผู้สำเร็จในแบบฝึกหัด การปฏิบัติธรรมของ พระพุทธศาสนาไปได้ ๑ ข้อ เป็นผู้ถึงขั้น "ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส" ได้แล้วข้อหนึ่ง หรือครั้งหนึ่ง
ดังนี้ เรียกว่า "ตทังคปหาน" คือ ได้ทำการ "ฆ่ากิเลส" ในตน จนมันตายไปจริงๆ ได้แล้วจริงๆ ครั้งหนึ่ง จงหัดทำดังนี้ให้ได้มากๆ ข้อเถิด หัดทำแบบฝึกหัดเช่นนี้เข้า เมื่อจำนวนข้อ หรือจำนวนครั้ง ของแบบฝึกหัดมาก ครบจำนวน "การบรรลุอรหัตตผล" จะถึงเอง โดยไม่ต้องมีใครแต่งตั้ง ผู้นั้น จะแจ้ง กับใจเองว่า "ทุกข์" ได้พ้นแล้ว ความเบาได้เกิดขึ้นแล้ว ภาระได้หมดไปแล้ว ความอยู่สุข ได้ถึงแล้ว ความสงบ เป็นอย่างไร ก็จะแจ้งกับใจ และจะอยู่กับมันได้ อย่างอิ่มเอม ไม่ทุรนทุราย ไม่มีอาการฟูเฟื่อง ไม่มีอาการดิ้นแส่
จะซาบซึ้งรสแห่งการอยู่คนเดียวเงียบๆ ด้วยจิตของตนเอง เป็นสภาวะนิ่ง สภาวะหยุด สภาวะรู้จักอิ่ม รู้จักพอ อย่างตรงกันข้าม กับความเป็น "ปุถุชน" โดยแท้จริง
ดังนั้น "กรรม" ของผู้บรรลุนี้ จึงเป็น "อโหสิกรรม" คือเป็น "กรรมที่ไม่ส่งผลใดให้ตนเสพ" หรือผู้บรรลุนั้น "เสพความว่างเปล่า" ก็เช่นกัน มีความหมายเหมือนกัน
แต่ "กรรม" ที่ผู้บรรลุนั้นประกอบ จะเป็น "กุศลกรรม" คือ เป็นการกระทำที่ดีกว่า เหนือกว่า สูงกว่า ปุถุชน กระทำนั่นเอง
เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เห็นแก่ตน เป็นมหาเมตตา-กรุณา-มุทิตาแก่โลก และผู้อื่นแต่ส่วนเดียว เป็นจุดใหญ่ ตราบชีวิต จะดับขันธ์ จนกายแตก แยกจากกันไปตามแรง สามารถของ "พระอรหันต์" นั้นๆ จงมั่นเป้าในการฝึกสมาธิภาวนา ดังนั้น การจะ "นั่งสมาธิหลับตา" ก็ตาม จึงต้องรู้ให้ได้อย่างแจ้งว่า จะต้องปฏิบัติ เพื่อตัดตรงให้เห็น - ให้รู้ "ทุกข์" แท้ๆ ให้ได้เช่นกัน เป็นเบื้องต้น เป็นจุดเอก
มิใช่จะ "นั่งหลับตา" เพื่อเพ่งความดิ่งให้ "จิต" สงบสนิท แล้วก็ฝึกหัด "น้อมจิต" ไปให้เห็นแสง เห็นสี เห็นนรก เห็นสวรรค์ หรือ ถอดจิต ออกไปดูของหาย ถอดจิต ออกไปดูเลขล็อตเตอรี่ หรือ ไม่ก็ฝึก "น้อมจิต" ให้ตนเองสามารถเหาะได้ หายตัวได้ รักษาคนป่วยได้ นั่นไม่ใช่ทางตรง ไม่ใช่ทางเอก แห่งการ "พ้นทุกข์"
นั่นคือ การ "ต่อทุกข์" ให้ตน ไม่ใช่ "จบทุกข์" ให้ตน เป็น "วิปัสสนูปกิเลส" เป็น "สีลัพพตปรามาส" จึงต้องทำความเข้าใจ ให้ละเอียด
และแม้ท่านผู้ใด บรรลุอรหัตตผลแล้ว ได้ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว จะทำสิ่งอันใด ให้แก่ผู้อื่น ที่เป็นเรื่อง การนอกเหนือกว่า "อาการพ้นทุกข์" ท่านก็ย่อมทำได้ และท่านก็ยังต้องทำ เป็นการทำอย่าง "รู้"
เช่น พระพุทธองค์ แสดงปาฏิหาริย์เอง ทั้งๆที่ห้ามสาวกแสดง อย่างนี้ เป็นต้น
(เหตุที่ห้าม ก็เพราะ พระอรหันต์ต่างๆ ยังไม่บรรลุวิชชา ที่เป็นอภิญญาทั้ง ๘ ครบ อย่างแท้จริง ส่วนพระองค์ ที่ทรงแสดงเสียเอง ก็เพราะพระองค์ บรรลุสิ้นแล้ว กระทำได้สำเร็จ หมดจดทั้ง ๘ อภิญญา แล้ว อย่างจริง เป็นอย่างแน่นอน ไม่ใช่อย่างหลงตน คือ สัมฤทธิ์ผลบ้าง ไม่สัมฤทธิ์ผลบ้าง) หรือ พระอรหันต์บางองค์ อาจจะรักษาไข้ให้กับคนบ้าง ตามโอกาส หรืออาจจะสร้าง ก่อวัตถุ บางอย่าง อันเป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ส่วน คือ เป็นทั้งประโยชน์โลก และประโยชน์ธรรม ท่านก็ทำได้ ตามเหตุ ตามกาล
ซึ่งปุถุชน ผู้ไม่รู้ต้องพยายาม อย่าเพิ่งไปเที่ยวได้จับ เอาพฤตินัยต่างๆ ที่ตนยังไม่ได้ไปวัด ความเป็น "อริยะ" ของท่าน สมณะต่างๆ เป็นอันขาด จึงแม้การนั่งหลับตาสมาธิ ก็ต้องนั่งให้รู้ตัว (กาย) ให้รู้ใจ (จิต) ของตนให้ได้ว่า เมื่อจิตเป็น "ฌาน" (คือ "จิตสงบ" ลงนั่นเอง) มันเป็นสภาวะอย่างไร อ่านให้ออก ค้นให้เห็น เข้าใจให้ได้ ให้รู้ความสงบแห่ง "จิต" นั้น
เมื่อรู้ได้ เข้าใจถึง "อาการสงบ" นั้นว่า เป็นอย่างนี้หนอ และมี "เหตุ" มี "ปัจจัย" อะไร ที่ทำให้ "สงบ" อยู่อย่างนี้ ก็รู้แจ้งได้ จึงจะออก มาจากอาการ "นั่งหลับตา" นั้น
แล้วก็นำ "เหตุ" และ "ปัจจัย" ที่ทำให้ "จิตสงบ" ได้นั้น มาหัดทำกับตน ในขณะ "ลืมตาโพลงๆ" นี้ให้ได้ (ไม่ใช่ทำความสงบได้ ก็แต่ขณะนั่ง อยู่เท่านั้น ตลอดกาล พอออกมาจาก สมาธิ ก็ทำความสงบอย่างนั้น ให้แก่จิต ของตนไม่ได้สักที)
ถ้าทำได้จริงๆ เมื่อใด ก็เรียกว่า "บรรลุ" เรียกว่า "สำเร็จ" เรียกว่า "นิพพาน" เรียกว่า "สงบ" ได้อย่างจริง ในแบบคนเป็นๆ ลืมตาโพลงๆ
ดังนี้แล เรียก "นิพพาน" อย่างนี้ว่า "ตทังคนิพพาน" คือ ได้ทำจิตของตน ให้ว่างเปล่า พ้นกิเลส - ตัณหา - อุปาทาน ไปได้ ในขณะมีชีวิตเต็มๆ ธรรมดาๆ คือ ลืมตาโพลงๆอยู่ แต่ทำได้เพียง ชั่วขณะหนึ่ง
ถ้าแม้นผู้ใด ทำ "จิต" ให้เป็นดังนี้ได้เด็ดขาด ตามต้องการ ในขณะ ลืมตาโพลงๆ ได้ทุกเวลาที่ต้องการ ผู้นั้น ก็ถึงซึ่ง "สมุจเฉทนิพพาน" เป็น "อรหันต์"๒๒ มกราคม ๒๕๑๔
x
อันมีรู้ทุกข์แท้ๆ รู้อาการของ ความดับแห่งทุกข์แท้ๆ และรู้จักทาง ที่จะนำพาตน ไปสู่ความดับทุกข์แท้ๆ ให้ได้ นี่แหละคือ "อรหันต์" ขั้นต้น อรหันต์แท้ๆของ "พุทธศาสนา"
เมื่อพระอรหันต์ท่านเหล่านั้น จบปริญญาตรีแล้ว ท่านจะบำเพ็ญ จิตของท่าน ให้บรรลุ "อภิญญา" อื่นๆ
สำเร็จ "วิชชาอิทธิปาฏิหาริย์-อาเทสนาปาฏิหาริย์ -และ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ที่กว้างขวางยิ่งๆ ขึ้นไป" อีกนั้น ก็เป็นเรื่อง ของท่าน เป็นการสั่งสม บารมีของแต่ละองค์ อันจะเป็น ปริญญาโท ปริญญาเอก ดังเช่น พระอนุตตร สัมมาสัมพุทธเจ้า ของเรา ผู้มีครบได้ ทุกปาฏิหาริย์ ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะ เป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ และ จะเป็นไป ดังนั้นด้วย
ความเป็น "บัณฑิต" ของ "พระอรหันต์" ดังกล่าว ก็มิได้สูญสิ้นไป แต่จะเป็น "บัณฑิต" ที่มี "วิชชา" เพิ่มเติมมา สูงขึ้นๆ ไป ตามความเป็นจริง
ผู้ที่ยังเข้าใจว่า "อรหันต์" คือ "การจบ" การสิ้นสุดแล้ว ไม่มีการได้อะไรอีก ไม่มีการเรียนอะไรอีก หรือ ไม่ก่ออะไรต่อ จึงต้องพยายาม ทำความเข้าใจให้ได้ จงอ่านให้ออก เข้าใจให้ถูก

อรหันต์ย่อมไม่หยุดในกุศลทั้งปวง
พระอรหันต์ท่านต่างๆ ไม่มีองค์ไหน "หยุด" จริงๆ
ทุกองค์ยังบำเพ็ญต่อ ทุกองค์ยังศึกษาต่ออยู่ทั้งสิ้น มีการถกปัญหาธรรม มีการบำเพ็ญธุดงคธรรม มีการได้ อภิญญาธรรม มาเพิ่มเติม อยู่เสมอทั้งสิ้น
แม้พระพุทธองค์เอง ก็ไม่เคยปล่อยปละละเลยการบำเพ็ญ จงทำความเข้าใจ ให้ถ่องแท้
แต่มันก็ยากเหมือนกัน ที่จะเข้าใจดังนี้ได้ เพราะ "ปฏิเวธธรรม" มันคือ "ปัจจัตตัง" และ "สันทิฏฐิโก" มันคือ อาการส่วนตน เฉพาะตน เท่านั้น
ผู้ยืนอยู่บันไดขั้นที่ ๑ ย่อมเห็นขั้นที่ ๒ พอได้ จะมองไปดูขั้น ๓ ก็ยาก ยิ่งมองดูขั้น ๔ ขั้น ๕ อันยิ่งสูงขึ้นไป ก็ยิ่งจะเห็นชัด เห็นแจ้ง ได้ยากยิ่งขึ้น
ต้องผู้ไปยืนขั้นนั้นๆจริงๆ จึงจะเห็นขั้นที่ตนยืน และขั้นที่ สูงขึ้นไปกว่า ได้อย่างถูกกว่า ไปตามลำดับได้จริงๆ และไม่ผิดเพี้ยน หรือ เดาสุ่ม
ด้วย "จุดเอก" ของพุทธ เป็นดังนี้ การนั่งหลับตา สมาธิภาวนา จึงไม่จำเป็นนัก สำหรับ "เงื่อนต้น"
พระพุทธองค์ จึงมีวิธีให้แก่พุทธบริษัท เรียกว่า "สติปัฏฐาน ๔" คือ ให้หัดมี "สติ" หรือ หัดอย่าลืมตัว อย่าทำอะไร ก็ทำไปโดยไม่รู้ ว่า เรากำลังทำอะไร ?
ต้องทำอย่างมี "ความรู้ตัว"  ทุกขณะ แม้จะ "คิด" จะ "พูด" จะ "ลงมือทำ" จริงๆ ก็ต้องให้รู้ใน "กรรม" หรือใน "การกระทำ" นั้นๆ ของตนให้ได้
แล้วก็ต้องใช้ "ปัญญา" พิจารณาใน "การกระทำ" ของเราให้ออกว่า สิ่งที่เรากำลังกระทำอยู่นั้น เรา "ทำดี" หรือ "ทำชั่ว"
ถ้าแจ้งใจว่า "เรากำลังทำดี" ก็จงทำต่อไป
ถ้าแจ้งใจว่า "เรากำลังทำชั่ว" ก็จงระงับการกระทำนั้นให้ได้
โมหบุคคลถ้าผู้ใดไม่รู้เลยว่า ที่ตนกำลังทำอยู่นั้น ว่า เป็น "ดีหรือชั่ว"
(อันนี้สำคัญ คนทุกคนเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น ทุกคนไม่รู้ตัว อย่างแท้จริง แต่สำคัญตนว่า ตนรู้ แต่แท้จริง "รู้" ตามอำนาจ ของกิเลส ตัณหา มันครอบงำ ปิดบังอยู่ จึงนึกว่า ตนทำดีอยู่ทุกที แท้จริง ทำเพื่อเห็นแก่ตน ลองคิดดูให้ดี)
คือ ทำไปตามความเคยของใจ หรือทำไปตามอย่าง คนส่วนมากในโลก ก็เรียกว่า ยังโง่ คือ ยังมี "โมหะ"
ถ้าผู้ใดรู้แจ้งได้ว่า "เป็นดีหรือชั่ว" เรียกว่า ผู้นั้นเป็น "ผู้พ้นโมหะ" (อย่างหยาบ)
และผู้ที่รู้นั้น ถ้ารู้ว่าสิ่งที่ตนกำลัง กระทำอยู่นั้น เป็น "ชั่ว" แต่ก็ยังทำอยู่ หยุดไม่ได้ อดทำไม่ได้ ตัดไม่ขาด ทั้งๆที่รู้แสนรู้ ผู้นั้นก็คือ ผู้ที่ยังมี "โลภะและโทสะ" อยู่ และ ก็ยังดีที่ "พ้นโมหะ"

ผู้ชนะที่แท้จริงถ้ายิ่งผู้นี้รู้ได้ด้วยว่า "ตนกำลังทำชั่ว" แล้วก็ตัดใจระงับ การกระทำนั้น ลงให้ได้ อย่างเด็ดขาดด้วย คนผู้นั้นก็ "พ้นทั้งโลภะ และโทสะ" (คือ บางที สิ่งที่กำลังกระทำนั้น อาจจะเป็น "โลภะ" บางทีก็อาจจะเป็น "โทสะ")
ผู้นี้จึงคือ ผู้ที่ "ชนะ" เป็นผู้บรรลุ เป็นผู้สำเร็จในแบบฝึกหัด การปฏิบัติธรรมของ พระพุทธศาสนาไปได้ ๑ ข้อ เป็นผู้ถึงขั้น "ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส" ได้แล้วข้อหนึ่ง หรือครั้งหนึ่ง
ดังนี้ เรียกว่า "ตทังคปหาน" คือ ได้ทำการ "ฆ่ากิเลส" ในตน จนมันตายไปจริงๆ ได้แล้วจริงๆ ครั้งหนึ่ง จงหัดทำดังนี้ให้ได้มากๆ ข้อเถิด หัดทำแบบฝึกหัดเช่นนี้เข้า เมื่อจำนวนข้อ หรือจำนวนครั้ง ของแบบฝึกหัดมาก ครบจำนวน "การบรรลุอรหัตตผล" จะถึงเอง โดยไม่ต้องมีใครแต่งตั้ง ผู้นั้น จะแจ้ง กับใจเองว่า "ทุกข์" ได้พ้นแล้ว ความเบาได้เกิดขึ้นแล้ว ภาระได้หมดไปแล้ว ความอยู่สุข ได้ถึงแล้ว ความสงบ เป็นอย่างไร ก็จะแจ้งกับใจ และจะอยู่กับมันได้ อย่างอิ่มเอม ไม่ทุรนทุราย ไม่มีอาการฟูเฟื่อง ไม่มีอาการดิ้นแส่
จะซาบซึ้งรสแห่งการอยู่คนเดียวเงียบๆ ด้วยจิตของตนเอง เป็นสภาวะนิ่ง สภาวะหยุด สภาวะรู้จักอิ่ม รู้จักพอ อย่างตรงกันข้าม กับความเป็น "ปุถุชน" โดยแท้จริง
ดังนั้น "กรรม" ของผู้บรรลุนี้ จึงเป็น "อโหสิกรรม" คือเป็น "กรรมที่ไม่ส่งผลใดให้ตนเสพ" หรือผู้บรรลุนั้น "เสพความว่างเปล่า" ก็เช่นกัน มีความหมายเหมือนกัน
แต่ "กรรม" ที่ผู้บรรลุนั้นประกอบ จะเป็น "กุศลกรรม" คือ เป็นการกระทำที่ดีกว่า เหนือกว่า สูงกว่า ปุถุชน กระทำนั่นเอง
เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เห็นแก่ตน เป็นมหาเมตตา-กรุณา-มุทิตาแก่โลก และผู้อื่นแต่ส่วนเดียว เป็นจุดใหญ่ ตราบชีวิต จะดับขันธ์ จนกายแตก แยกจากกันไปตามแรง สามารถของ "พระอรหันต์" นั้นๆ จงมั่นเป้าในการฝึกสมาธิภาวนา ดังนั้น การจะ "นั่งสมาธิหลับตา" ก็ตาม จึงต้องรู้ให้ได้อย่างแจ้งว่า จะต้องปฏิบัติ เพื่อตัดตรงให้เห็น - ให้รู้ "ทุกข์" แท้ๆ ให้ได้เช่นกัน เป็นเบื้องต้น เป็นจุดเอก
มิใช่จะ "นั่งหลับตา" เพื่อเพ่งความดิ่งให้ "จิต" สงบสนิท แล้วก็ฝึกหัด "น้อมจิต" ไปให้เห็นแสง เห็นสี เห็นนรก เห็นสวรรค์ หรือ ถอดจิต ออกไปดูของหาย ถอดจิต ออกไปดูเลขล็อตเตอรี่ หรือ ไม่ก็ฝึก "น้อมจิต" ให้ตนเองสามารถเหาะได้ หายตัวได้ รักษาคนป่วยได้ นั่นไม่ใช่ทางตรง ไม่ใช่ทางเอก แห่งการ "พ้นทุกข์"
นั่นคือ การ "ต่อทุกข์" ให้ตน ไม่ใช่ "จบทุกข์" ให้ตน เป็น "วิปัสสนูปกิเลส" เป็น "สีลัพพตปรามาส" จึงต้องทำความเข้าใจ ให้ละเอียด
และแม้ท่านผู้ใด บรรลุอรหัตตผลแล้ว ได้ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว จะทำสิ่งอันใด ให้แก่ผู้อื่น ที่เป็นเรื่อง การนอกเหนือกว่า "อาการพ้นทุกข์" ท่านก็ย่อมทำได้ และท่านก็ยังต้องทำ เป็นการทำอย่าง "รู้"
เช่น พระพุทธองค์ แสดงปาฏิหาริย์เอง ทั้งๆที่ห้ามสาวกแสดง อย่างนี้ เป็นต้น
(เหตุที่ห้าม ก็เพราะ พระอรหันต์ต่างๆ ยังไม่บรรลุวิชชา ที่เป็นอภิญญาทั้ง ๘ ครบ อย่างแท้จริง ส่วนพระองค์ ที่ทรงแสดงเสียเอง ก็เพราะพระองค์ บรรลุสิ้นแล้ว กระทำได้สำเร็จ หมดจดทั้ง ๘ อภิญญา แล้ว อย่างจริง เป็นอย่างแน่นอน ไม่ใช่อย่างหลงตน คือ สัมฤทธิ์ผลบ้าง ไม่สัมฤทธิ์ผลบ้าง) หรือ พระอรหันต์บางองค์ อาจจะรักษาไข้ให้กับคนบ้าง ตามโอกาส หรืออาจจะสร้าง ก่อวัตถุ บางอย่าง อันเป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ส่วน คือ เป็นทั้งประโยชน์โลก และประโยชน์ธรรม ท่านก็ทำได้ ตามเหตุ ตามกาล
ซึ่งปุถุชน ผู้ไม่รู้ต้องพยายาม อย่าเพิ่งไปเที่ยวได้จับ เอาพฤตินัยต่างๆ ที่ตนยังไม่ได้ไปวัด ความเป็น "อริยะ" ของท่าน สมณะต่างๆ เป็นอันขาด จึงแม้การนั่งหลับตาสมาธิ ก็ต้องนั่งให้รู้ตัว (กาย) ให้รู้ใจ (จิต) ของตนให้ได้ว่า เมื่อจิตเป็น "ฌาน" (คือ "จิตสงบ" ลงนั่นเอง) มันเป็นสภาวะอย่างไร อ่านให้ออก ค้นให้เห็น เข้าใจให้ได้ ให้รู้ความสงบแห่ง "จิต" นั้น
เมื่อรู้ได้ เข้าใจถึง "อาการสงบ" นั้นว่า เป็นอย่างนี้หนอ และมี "เหตุ" มี "ปัจจัย" อะไร ที่ทำให้ "สงบ" อยู่อย่างนี้ ก็รู้แจ้งได้ จึงจะออก มาจากอาการ "นั่งหลับตา" นั้น
แล้วก็นำ "เหตุ" และ "ปัจจัย" ที่ทำให้ "จิตสงบ" ได้นั้น มาหัดทำกับตน ในขณะ "ลืมตาโพลงๆ" นี้ให้ได้ (ไม่ใช่ทำความสงบได้ ก็แต่ขณะนั่ง อยู่เท่านั้น ตลอดกาล พอออกมาจาก สมาธิ ก็ทำความสงบอย่างนั้น ให้แก่จิต ของตนไม่ได้สักที)
ถ้าทำได้จริงๆ เมื่อใด ก็เรียกว่า "บรรลุ" เรียกว่า "สำเร็จ" เรียกว่า "นิพพาน" เรียกว่า "สงบ" ได้อย่างจริง ในแบบคนเป็นๆ ลืมตาโพลงๆ
ดังนี้แล เรียก "นิพพาน" อย่างนี้ว่า "ตทังคนิพพาน" คือ ได้ทำจิตของตน ให้ว่างเปล่า พ้นกิเลส - ตัณหา - อุปาทาน ไปได้ ในขณะมีชีวิตเต็มๆ ธรรมดาๆ คือ ลืมตาโพลงๆอยู่ แต่ทำได้เพียง ชั่วขณะหนึ่ง
ถ้าแม้นผู้ใด ทำ "จิต" ให้เป็นดังนี้ได้เด็ดขาด ตามต้องการ ในขณะ ลืมตาโพลงๆ ได้ทุกเวลาที่ต้องการ ผู้นั้น ก็ถึงซึ่ง "สมุจเฉทนิพพาน" เป็น "อรหันต์"๒๒ มกราคม ๒๕๑๔
x
โมหบุคคล
ถ้าผู้ใดไม่รู้เลยว่า ที่ตนกำลังทำอยู่นั้น ว่า เป็น "ดีหรือชั่ว"
(อันนี้สำคัญ คนทุกคนเป็นอย่างนี้ทั้งนั้น ทุกคนไม่รู้ตัว อย่างแท้จริง แต่สำคัญตนว่า ตนรู้ แต่แท้จริง "รู้" ตามอำนาจ ของกิเลส ตัณหา มันครอบงำ ปิดบังอยู่ จึงนึกว่า ตนทำดีอยู่ทุกที แท้จริง ทำเพื่อเห็นแก่ตน ลองคิดดูให้ดี)
คือ ทำไปตามความเคยของใจ หรือทำไปตามอย่าง คนส่วนมากในโลก ก็เรียกว่า ยังโง่ คือ ยังมี "โมหะ"
ถ้าผู้ใดรู้แจ้งได้ว่า "เป็นดีหรือชั่ว" เรียกว่า ผู้นั้นเป็น "ผู้พ้นโมหะ" (อย่างหยาบ)
และผู้ที่รู้นั้น ถ้ารู้ว่าสิ่งที่ตนกำลัง กระทำอยู่นั้น เป็น "ชั่ว" แต่ก็ยังทำอยู่ หยุดไม่ได้ อดทำไม่ได้ ตัดไม่ขาด ทั้งๆที่รู้แสนรู้ ผู้นั้นก็คือ ผู้ที่ยังมี "โลภะและโทสะ" อยู่ และ ก็ยังดีที่ "พ้นโมหะ"

ผู้ชนะที่แท้จริง
ถ้ายิ่งผู้นี้รู้ได้ด้วยว่า "ตนกำลังทำชั่ว" แล้วก็ตัดใจระงับ การกระทำนั้น ลงให้ได้ อย่างเด็ดขาดด้วย คนผู้นั้นก็ "พ้นทั้งโลภะ และโทสะ" (คือ บางที สิ่งที่กำลังกระทำนั้น อาจจะเป็น "โลภะ" บางทีก็อาจจะเป็น "โทสะ")
ผู้นี้จึงคือ ผู้ที่ "ชนะ" เป็นผู้บรรลุ เป็นผู้สำเร็จในแบบฝึกหัด การปฏิบัติธรรมของ พระพุทธศาสนาไปได้ ๑ ข้อ เป็นผู้ถึงขั้น "ทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส" ได้แล้วข้อหนึ่ง หรือครั้งหนึ่ง
ดังนี้ เรียกว่า "ตทังคปหาน" คือ ได้ทำการ "ฆ่ากิเลส" ในตน จนมันตายไปจริงๆ ได้แล้วจริงๆ ครั้งหนึ่ง
จงหัดทำดังนี้ให้ได้มากๆ ข้อเถิด หัดทำแบบฝึกหัดเช่นนี้เข้า เมื่อจำนวนข้อ หรือจำนวนครั้ง ของแบบฝึกหัดมาก ครบจำนวน "การบรรลุอรหัตตผล" จะถึงเอง โดยไม่ต้องมีใครแต่งตั้ง ผู้นั้น จะแจ้ง กับใจเองว่า "ทุกข์" ได้พ้นแล้ว ความเบาได้เกิดขึ้นแล้ว ภาระได้หมดไปแล้ว ความอยู่สุข ได้ถึงแล้ว ความสงบ เป็นอย่างไร ก็จะแจ้งกับใจ และจะอยู่กับมันได้ อย่างอิ่มเอม ไม่ทุรนทุราย ไม่มีอาการฟูเฟื่อง ไม่มีอาการดิ้นแส่
จะซาบซึ้งรสแห่งการอยู่คนเดียวเงียบๆ ด้วยจิตของตนเอง เป็นสภาวะนิ่ง สภาวะหยุด สภาวะรู้จักอิ่ม รู้จักพอ อย่างตรงกันข้าม กับความเป็น "ปุถุชน" โดยแท้จริง
ดังนั้น "กรรม" ของผู้บรรลุนี้ จึงเป็น "อโหสิกรรม" คือเป็น "กรรมที่ไม่ส่งผลใดให้ตนเสพ" หรือผู้บรรลุนั้น "เสพความว่างเปล่า" ก็เช่นกัน มีความหมายเหมือนกัน
แต่ "กรรม" ที่ผู้บรรลุนั้นประกอบ จะเป็น "กุศลกรรม" คือ เป็นการกระทำที่ดีกว่า เหนือกว่า สูงกว่า ปุถุชน กระทำนั่นเอง
เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เห็นแก่ตน เป็นมหาเมตตา-กรุณา-มุทิตาแก่โลก และผู้อื่นแต่ส่วนเดียว เป็นจุดใหญ่ ตราบชีวิต จะดับขันธ์ จนกายแตก แยกจากกันไปตามแรง สามารถของ "พระอรหันต์" นั้นๆ
จงมั่นเป้าในการฝึกสมาธิภาวนา
ดังนั้น การจะ "นั่งสมาธิหลับตา" ก็ตาม จึงต้องรู้ให้ได้อย่างแจ้งว่า จะต้องปฏิบัติ เพื่อตัดตรงให้เห็น - ให้รู้ "ทุกข์" แท้ๆ ให้ได้เช่นกัน เป็นเบื้องต้น เป็นจุดเอก
มิใช่จะ "นั่งหลับตา" เพื่อเพ่งความดิ่งให้ "จิต" สงบสนิท แล้วก็ฝึกหัด "น้อมจิต" ไปให้เห็นแสง เห็นสี เห็นนรก เห็นสวรรค์ หรือ ถอดจิต ออกไปดูของหาย ถอดจิต ออกไปดูเลขล็อตเตอรี่
หรือ ไม่ก็ฝึก "น้อมจิต" ให้ตนเองสามารถเหาะได้ หายตัวได้ รักษาคนป่วยได้ นั่นไม่ใช่ทางตรง ไม่ใช่ทางเอก แห่งการ "พ้นทุกข์"
นั่นคือ การ "ต่อทุกข์" ให้ตน ไม่ใช่ "จบทุกข์" ให้ตน เป็น "วิปัสสนูปกิเลส" เป็น "สีลัพพตปรามาส" จึงต้องทำความเข้าใจ ให้ละเอียด
และแม้ท่านผู้ใด บรรลุอรหัตตผลแล้ว ได้ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์แล้ว จะทำสิ่งอันใด ให้แก่ผู้อื่น ที่เป็นเรื่อง การนอกเหนือกว่า "อาการพ้นทุกข์" ท่านก็ย่อมทำได้ และท่านก็ยังต้องทำ เป็นการทำอย่าง "รู้"
เช่น พระพุทธองค์ แสดงปาฏิหาริย์เอง ทั้งๆที่ห้ามสาวกแสดง อย่างนี้ เป็นต้น
(เหตุที่ห้าม ก็เพราะ พระอรหันต์ต่างๆ ยังไม่บรรลุวิชชา ที่เป็นอภิญญาทั้ง ๘ ครบ อย่างแท้จริง ส่วนพระองค์ ที่ทรงแสดงเสียเอง ก็เพราะพระองค์ บรรลุสิ้นแล้ว กระทำได้สำเร็จ หมดจดทั้ง ๘ อภิญญา แล้ว อย่างจริง เป็นอย่างแน่นอน ไม่ใช่อย่างหลงตน คือ สัมฤทธิ์ผลบ้าง ไม่สัมฤทธิ์ผลบ้าง)
หรือ พระอรหันต์บางองค์ อาจจะรักษาไข้ให้กับคนบ้าง ตามโอกาส หรืออาจจะสร้าง ก่อวัตถุ บางอย่าง อันเป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ส่วน คือ เป็นทั้งประโยชน์โลก และประโยชน์ธรรม ท่านก็ทำได้ ตามเหตุ ตามกาล
ซึ่งปุถุชน ผู้ไม่รู้ต้องพยายาม อย่าเพิ่งไปเที่ยวได้จับ เอาพฤตินัยต่างๆ ที่ตนยังไม่ได้ไปวัด ความเป็น "อริยะ" ของท่าน สมณะต่างๆ เป็นอันขาด
จึงแม้การนั่งหลับตาสมาธิ ก็ต้องนั่งให้รู้ตัว (กาย) ให้รู้ใจ (จิต) ของตนให้ได้ว่า เมื่อจิตเป็น "ฌาน" (คือ "จิตสงบ" ลงนั่นเอง) มันเป็นสภาวะอย่างไร อ่านให้ออก ค้นให้เห็น เข้าใจให้ได้ ให้รู้ความสงบแห่ง "จิต" นั้น
เมื่อรู้ได้ เข้าใจถึง "อาการสงบ" นั้นว่า เป็นอย่างนี้หนอ และมี "เหตุ" มี "ปัจจัย" อะไร ที่ทำให้ "สงบ" อยู่อย่างนี้ ก็รู้แจ้งได้ จึงจะออก มาจากอาการ "นั่งหลับตา" นั้น
แล้วก็นำ "เหตุ" และ "ปัจจัย" ที่ทำให้ "จิตสงบ" ได้นั้น มาหัดทำกับตน ในขณะ "ลืมตาโพลงๆ" นี้ให้ได้ (ไม่ใช่ทำความสงบได้ ก็แต่ขณะนั่ง อยู่เท่านั้น ตลอดกาล พอออกมาจาก สมาธิ ก็ทำความสงบอย่างนั้น ให้แก่จิต ของตนไม่ได้สักที)
ถ้าทำได้จริงๆ เมื่อใด ก็เรียกว่า "บรรลุ" เรียกว่า "สำเร็จ" เรียกว่า "นิพพาน" เรียกว่า "สงบ" ได้อย่างจริง ในแบบคนเป็นๆ ลืมตาโพลงๆ
ดังนี้แล เรียก "นิพพาน" อย่างนี้ว่า "ตทังคนิพพาน" คือ ได้ทำจิตของตน ให้ว่างเปล่า พ้นกิเลส - ตัณหา - อุปาทาน ไปได้ ในขณะมีชีวิตเต็มๆ ธรรมดาๆ คือ ลืมตาโพลงๆอยู่ แต่ทำได้เพียง ชั่วขณะหนึ่ง
ถ้าแม้นผู้ใด ทำ "จิต" ให้เป็นดังนี้ได้เด็ดขาด ตามต้องการ ในขณะ ลืมตาโพลงๆ ได้ทุกเวลาที่ต้องการ ผู้นั้น ก็ถึงซึ่ง "สมุจเฉทนิพพาน" เป็น "อรหันต์"
๒๒ มกราคม ๒๕๑๔
x
(เดรัจฉาน หมายถึง สัตวโลก เดรัจฉานวิชา หมายถึง วิชชา ที่ยังไม่พ้น ความเป็นสัตวโลก อย่าไปแปลว่า วิชชาของสัตว์ขั้นต่ำ มันเป็นการดูถูก "วิชชา" หรือ "ความรู้" ไป เพราะ "ความรู้" นั้นเป็นของดีทั้งสิ้น ถ้าผู้ใด มีประดับตน แต่พระพุทธเจ้า สอนให้ "คนรู้" ยิ่งกว่า คือ แม้แต่ลำดับ แห่งการหา "ความรู้" ใส่ตน ก็จะต้อง "รู้" จักทางหนีทีไล่ ให้แก่ตน อย่างชาญฉลาดที่สุด)




วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ


พระธรรมเทศนา
โดย
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
31 ตุลาคม 2497
ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)
เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา          เตสํ เหตุํ ตถาคโต
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ          เอวํวาที มหาสมโณ
อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา          รูปญฺจ เวทนา ตถา
อโถ สญฺญา จ สงฺขารา          วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม
อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺชนฺติ          เอวํ หุตฺวา อภาวโต
เอวํ ธมฺมา อนิจฺจาติ          ตาวกาลิกตาทิโต
เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ          อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ
ปฏิปชฺเชถ เมธาวี          อโมฆํ ชีวิตํ ยถาติ.


ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เริ่มต้นแต่ความย่อย่นธรรมเทศนาของ พระบรมศาสดา พระองค์ได้รับสั่งด้วยพระองค์เองว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ไม่มีเหตุแล้ว ธรรมก็เกิดไม่ได้ นั้นเป็นข้อใหญ่ใจความทางพระพุทธศาสนา ผู้มีปัญญาจะพึงได้สดับในบัดนี้ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า เย ธมฺมา เหตุปพฺภวา เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงตรัสเหตุ ของธรรมเหล่านั้น และความดับเหตุของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้าทรงตรัสอย่างนี้
นี่เนื้อความของพระบาลีแห่งพุทธภาษิต คลี่ความเป็นสยามภาษา อรรถาธิบายว่า คำว่าเหตุนั้น ในสังคหะแสดงไว้ ฝ่ายชั่วมี 3 ฝ่ายดีมี 3 ดังพระบาลีว่า โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ, อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ มีเหตุ 3 ดังนี้ เพราะท่านแสดงหลักไว้ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้นะ ท่านแสดงหลัก ยกเบญจขันธ์ทั้ง 5 มี อวิชชาเป็นปัจจัย วางหลักไว้ ดังนี้ อวิชฺชาทีหิ สมฺภูตา รูปญฺจ เวทนา ตถา อโถ สญฺญา จ เวทนา วิญฺญาณญฺจาติ ปญฺจิเม เบญจขันธ์ทั้ง 5 เหล่านี้ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดพร้อมแต่ ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชา เป็นต้น เกิดอย่างไรเกิดแต่เหตุ เกิดพร้อมแต่ปัจจัยทั้งหลาย มี อวิชชาเป็นต้น ดังในวาระพระบาลีที่ท่านวางเนติแบบแผนไว้ว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ดังนั้นเป็นต้น อวิชชาความรู้ไม่จริง มันก็กระวนกระวาย นิ่งอยู่ไม่ได้ ความรนหา ความไม่รู้จริงนั่นแหละ มันก็เกิดเป็นสังขารขึ้น รู้ดีรู้ชั่ว รู้ไม่ดีไม่ชั่ว เข้าไปว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ความรู้ เมื่อมีความรู้ขึ้นแล้ว วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป มันก็ไปยึดเอา นามรูปเข้า นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะ 6 เข้าประกอบ อายตนะ 6 เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ เมื่อมีอายตนะ 6 เข้าแล้วก็รับผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัย ให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ความอยากได้ ดิ้นรน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหามีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ อุปาทานมีขึ้นแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก็ยึดถือภพต่อไป กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ เมื่อได้ภพแล้วก็เกิดเป็นมนุษย์ก็ดี เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี 4 กำเนิด เกิดด้วยอัณฑชะ เกิดจากสังเสทชะ เกิดด้วยชลาพุชะ อุปปาติกะ อัณฑชะ เกิดเป็นฟองไข่ สังเสทชะ เกิด ด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำพวกมนุษย์ อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิดอย่างพวกเทวดา สัตว์นรกนี่ อุปปาติกะนี้ที่เกิดขึ้นได้เช่นนี้ ก็เพราะอวิชชานั่นเอง ไม่ใช่อื่น ถ้าอวิชชาไม่มีแล้ว เกิดไม่ได้ อวิชชานะเป็นเหตุด้วย แล้วเป็นปัจจัยด้วย นี่เราท่านทั้งหลายเป็นหญิง เป็นชาย เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต เกิดมาได้อย่างนี้
ความเกิดอันนี้แหละเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดแต่อื่น ไม่ว่าสิ่งอันใดทั้งสิ้น ต้องมีเหตุเป็น แดนเกิดทั้งนั้น ถ้าไม่มีเหตุ เกิดไม่ได้ นี่พระองค์ทรงรับรองไว้ตามวาระพระบาลีในเบื้องต้นนั้น
เมื่อเป็นเหตุเกิดขึ้นเช่นนี้ ท่านวางหลักไว้อีกว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ มีดับ มีเกิด เกิดดับนี่เป็นตัวสำคัญ ไม่ใช่เกิดฝ่ายเดียว มีเกิดแล้วมีดับด้วย ความดับนั้น อวิชชาไม่ดับ สังขารก็ดับไม่ได้ สังขารไม่ดับ วิญญาณก็ดับไม่ได้ วิญญาณไม่ดับ นามรูปก็ดับไม่ได้ นามรูปไม่ดับ อายตนะ 6 ก็ดับไม่ได้ อายตนะ 6 ไม่ดับ ผัสสะก็ดับไม่ได้ ผัสสะไม่ดับ เวทนาก็ดับไม่ได้ เวทนาไม่ดับ ตัณหาก็ดับไม่ได้เหมือนกัน ตัณหาไม่ดับ อุปาทานก็ดับ ไม่ได้ อุปาทานไม่ดับ ภพก็ดับไม่ได้ ภพไม่ดับ ชาติก็ดับไม่ได้ ชาติเป็นตัวสำคัญ ไม่หมด ชาติ หมดภพ นี่เขาต้องดับกันอย่างนี้ เมื่อดับก็ดับเป็นลำดับไปอย่างนี้ ได้วางตำราไว้ว่า อวิชฺชายเตฺว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับไปโดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ วิญญาณดับกันเรื่อยไป จนกระทั่งถึงชาติโน่น ดับกันหมด ท่านจึงได้ยกบาลีว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ ย่อมเกิดย่อมดับดังนี้ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิด ดับหมดทั้งสากลโลก เกิดดับเรื่องนี้ พระปัญจวัคคีย์รับว่าได้ฟังพระปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรของพระบรมศาสดา รับรองทีเดียวตามวาระพระบาลีว่า อายสฺมโต โกณฺฑญฺญสฺส วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ ว่า วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุํ อุทปาทิ เห็นธรรมอันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้มีอายุชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ เห็นอะไร เห็นเกิดดับนั่นเอง ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา ถ้าย่นลงไป แล้วก็มีเกิดและดับ นี่ตรงกับ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้ เมื่อเกิดดับดังนี้แล้ว เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาติ ตาวกาลิกตาทิโต รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้น ไม่เที่ยง เพราะความมีแล้วหามีไม่ รูปธรรมนามธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง เพราะความเป็น เหมือนดังของขอยืม เป็นต้น เหมือนเราท่านทั้งหลายบัดนี้ มีเกิดมีดับเรื่อยไป รูปธรรม นามธรรมที่ได้มานี้ มีแล้วหามีไม่ เพราะความเป็นดังของขอยืมเหมือนกันทุกคน ต้องขอยืม ทั้งนั้น ผู้เทศน์นี่ก็ต้องคืนให้เขา เราๆ ทุกคนก็ต้องคืนทั้งนั้น ขอยืมเขามาใช้ ไม่ใช่ของตัวเลย ความเป็นจริงเป็นอย่างนี้
เมื่อรู้ความของมันเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านจึงได้รับสั่งในคาถาเป็นลำดับไปว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใด บุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา นี่เป็นหนทางหมดจดวิเศษ ให้ปัญญาจรดลงตรงนี้นะ ว่าสังขารทั้งหลาย ทั้งปวงไม่เที่ยง ถ้าจริง ไม่เที่ยงอยู่แล้วละก็ ยึดด้วยความไม่เที่ยงนั้นไว้ อย่าให้หายไป ตรึก ไว้เรื่อย สังขารทั้งปวงน่ะ ถ้ามันอยากจะโลดโผนละก้อ สังขารของตัว ปุญญาภิสังขาร สังขารที่ เป็นบุญ อปุญญาภิสังขาร สังขารที่เป็นบาป อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว กายสังขาร ลมหายใจเข้าออกปรนปรือกายให้เป็นอยู่ วจีสังขาร ความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขาร ความ รู้สึกอยู่ในใจเป็นจิตสังขาร สังขารทั้งหลายเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยงจริงๆ แล้วเอาจรดอยู่ที่ ความไม่เที่ยง ตัวก็เป็นสังขารดุจเดียวกัน แบบเดียวกันหมด ปรากฏหมดทั้งสากลโลก ล้วนแต่อาศัยสังขารทั้งนั้น เห็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะเหนื่อยหน่ายในทุกข์ทีเดียว พอเหนื่อยหน่าย ในทุกข์ ก็รักษาความเหนื่อยหน่ายนั้นไว้ไม่ให้หายไป ช่องนั้นแหละ ทางนั้นแหละหมดจด วิเศษ ระงับความทุกข์ได้แท้ๆ
แล้วคาถาตามลำดับไปรับรองว่า ปุนปฺปุนํ ปิฬิตตฺตา อุปฺปาเทน วเยน จ เต ทุกฺขาว อนิจฺจา เย อตฺถสนฺตตฺตาทิโต สังขตธรรมทั้งหลายเหล่าใดไม่เที่ยง เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยงแล้ว สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นทุกข์แท้ เพราะความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเบียดเบียน อยู่ร่ำไป และเป็นสภาพเร่าร้อน เป็นต้น ไม่เยือกเย็น เป็นสภาพที่เร่าร้อน พระคาถาหลัง รับสมอ้างอีกว่า สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อม เหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ นี่ให้เห็นว่าสังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์ อ้ายสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นแหละเป็นทุกข์แท้ๆ ไม่ใช่เป็นสุข ถ้าว่าเป็นสุขแล้ว มันก็ต้องเที่ยง นี่มันไม่เป็นสุข มันจึงไม่เที่ยง เมื่อมันไม่เที่ยงแล้ว มันเป็นสุขได้อย่างไร มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น
เมื่อรู้จักชัดเช่นนี้แล้ว วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เต อนตฺตาติ ญายเร สังขารธรรมทั้งหลายเหล่านั้น บัณฑิตรู้ว่าไม่ใช่ตัว ว่าเป็นอนัตตา เพราะ ความเป็นสภาพไม่เป็นไปตามอำนาจเลย อตฺตวิปกฺขภาวโต เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตน สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เป็นสภาพว่างเปล่า เราก็ว่างเปล่า เขาว่างเปล่า ว่างเปล่าหมดทั้งนั้น เอาอะไรมิได้ หาอะไรมิได้เลย ต้นตระกูลเป็นอย่างไร หายไปหมด ว่างเปล่าไปหมด หาแต่ คนเดียวก็ไม่ได้ ว่างเปล่าอย่างนี้ไม่มีเจ้าของ เอ้า! ใครล่ะมาเป็นเจ้าของเบญจขันธ์ คนไหนเล่า เป็นเจ้าของเบญจขันธ์ เป็นเจ้าของไม่ได้เลย ของตัวก็ต้องทิ้ง เอาไปไหนไม่ได้ ทิ้งทั้งนั้น ยืนยัน ว่าเหมือนของขอยืมเขาใช้ทั้งนั้น แล้วก็ต้องส่งคืนทั้งนั้นเอาไม่ได้ เอาอะไรไม่ได้ทั้งนั้น เมื่อรู้จัก หลักจริงดังนี้ ให้ตรึกไว้ในใจ ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราไว้ว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ
เมื่อกี้พูดถึงขันธ์นะ พูดถึงสังขาร นี่มาพูดถึงธรรมเสียแล้ว สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดบุคคลเห็นตาม ปัญญาว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมิใช่ตัว เอ้า! มาเรื่องธรรมเสียแล้ว เมื่อกี้พูดสังขารอยู่ ธรรม ทั้งปวงมิใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี้เป็นมรรคาวิสุทธิ์ หรือวิสุทธิมรรค หนทางหมดจดวิเศษ
นี่ธรรมละ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัวหละ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว นี่ มันอื่นจากสังขารไป มันสังขารคนละอย่าง สังขารอันหนึ่ง ธรรมอันหนึ่ง ไม่ใช่อันเดียวกัน ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ธรรมที่ทำให้เป็นตัวนะ ที่จะเป็นมนุษย์นี่ก็ต้องอาศัยมนุษยธรรม ที่จะ เป็นกายมนุษย์ละเอียดนี่ก็อาศัยมนุษยธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ธรรมที่เป็นกายทิพย์ อาศัยทิพยธรรม เป็นกายทิพย์ละเอียด อาศัยทิพยธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมก็อาศัยพรหมธรรม ที่เป็นกายรูปพรหมละเอียดก็อาศัยธรรมละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหม ที่เป็น อรูปพรหมก็อาศัยธรรมของอรูปพรหม คือ อรูปฌาน ถึงละเอียดก็เช่นเดียวกัน ธรรมนะ เป็นอย่างไร สังขารเป็นอย่างไร ต่างกันหรือ ต่างกัน ไม่เหมือนกัน คนละอัน เขาเรียกว่า สังขารธรรมอย่างไรล่ะ นั่นอนุโลม ความจริง คือ ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว ธรรมน่ะไม่ใช่ตัว เราจะ ค้นเข้าไปเท่าไรในตัวเรานี่แน่ะ ค้นเท่าไรๆ ก็ไปพบดวงธรรม
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ อยู่กลางกายมนุษย์ ใสนักทีเดียว ธรรมดวงนั้นแหละ เราได้มาด้วยกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ ถ้าว่าไม่บริสุทธิ์แล้ว ไม่ได้ธรรมดวงนั้น ธรรมดวงนั้นเราเรียกว่าธรรมแท้
ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละอียด ก็ได้แบบเดียวกัน บริสุทธิ์ของมนุษย์ ธรรมที่ ทำให้เป็นมนุษย์ละเอียด ดวงโตขึ้นไปกว่าธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์เท่าตัว 2 เท่าฟองไข่แดง ของไก่
ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่
ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่
ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมโตกว่าอีกเท่าหนึ่ง 5 เท่าฟองไข่แดงของไก่
ธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหมละเอียด ก็โตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง อย่างเดียวกัน เป็นดวงใส อย่างเดียวกัน 6 เท่าฟองไข่แดงของไก่
ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม โตขึ้นไปอีก 7 เท่าฟองไข่แดงของไก่
ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด โตขึ้นไปอีก 8 เท่าฟองไข่แดงของไก่
นั่นดวงนั้นเป็นธรรม พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ที่ได้สำเร็จ ท่านเดินในกลางดวงธรรม นี้ทั้งนั้น เดินด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางดวงธรรมนี่ทั้งนั้น ไม่เดินในกลางดวงธรรมนี้ สำเร็จไม่ได้ ไปถึงกายเป็นลำดับไปไม่ได้ ดวงธรรมนี้เป็นธรรม สำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันว่า ธรรมทั้งปวงเหล่านี้ไม่ใช่ตัว แต่ธรรมถึงไม่ใช่ตัว ก็ธรรมนั่น แหละทำให้เป็นตัว ตัวอยู่อาศัยธรรมนั่นแหละ ตัวก็ต้องอาศัยดวงธรรมนั้นแหละ จึงจะมา เกิดได้ ถ้าไม่อาศัยดวงธรรมนั้น มาเกิดไม่ได้ กายมนุษย์ ดวงธรรมนั้นได้ด้วยบริสุทธิ์กาย วาจา ตลอดถึงใจ เป็นอัพโพหาริกไปด้วย บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ ได้ธรรมดวงนั้น ธรรม ที่ทำให้เป็นเทวดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ต้องเติมทาน ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ไปในความ บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อีก มันก็ได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายเทวดาเป็นลำดับไปทั้งหยาบ ทั้งละเอียด ธรรมที่ทำให้เป็นพรหมละ ได้ด้วยรูปฌานทั้ง 4 ได้สำเร็จรูปฌานแล้ว ให้ สำเร็จธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ธรรมเป็นอรูปพรหมเล่า ทั้งหยาบทั้งละเอียด ก็ได้ด้วย อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั่นแหละสำหรับเติมลงไป ในธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ในธรรมที่ ทำให้เป็นกายอรูปพรหมอีก จึงจะได้ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมขึ้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ดังนี้
นี่แหละว่า ธรรมทั้งปวงมิใช่ตัว ไม่ใช่ตัวจริงๆ ตัวอยู่ที่ไหนล่ะ เออ! ธรรมทั้งปวง นี่ไม่ใช่ตัว แล้วตัวไปอยู่ที่ไหนละ ตัวก็ง่ายๆ กายมนุษย์นี่แหละเป็นตัว กายมนุษย์ละเอียด ก็เป็นตัว แต่เป็นตัวฝันออกไป กายทิพย์ก็เป็นตัว กายทิพย์ละเอียด ที่กายทิพย์นอนฝัน ออกไปก็เป็นตัว กายรูปพรหมก็เป็นตัว กายรูปพรหมละเอียดก็เป็นตัว กายอรูปพรหมก็เป็น ตัว แต่ว่าตัวสมมติ ไม่ใช่ตัววิมุตติ ตัวสมมติกันขึ้น เป็นตัวเข้าถึงกายธรรม กายธรรมก็เป็น ตัว เข้าถึงกายธรรมละเอียด กายธรรมละเอียดก็เป็นตัวอีกนั่นแหละ เป็นชั้นๆ ขึ้นไป นั่น เข้าถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดก็เอาตัวที่เป็นโคตรภู เข้าถึงกายธรรมพระโสดา-พระโสดาละเอียด นั่นเป็นตัวแท้ๆ ตัวเป็นอริยะ เรียกว่า อริยบุคคล พระองค์ทรงรับรองแค่กายธรรม โคตรภูนี่ ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสาวกของพระตถาคตของพระผู้มีพระภาค กายธรรม ที่เป็นโสดา-โสดาละเอียด, สกทาคา-สกทาคาละเอียด, อนาคา-อนาคาละเอียด, อรหัต-อรหัตละเอียด ทั้งมรรคทั้งผล นั่นเรียกว่า อริยบุคคล 8 จำพวก นั้นเรียกว่า อริยบุคคล
นี่แหละ ภควโต สาวกสงฺโฆ สาวกของเราตถาคต ท่านปราฏในโลก แล้วท่านที่ แสวงหาพวกนี้ ถ้าได้แล้วก็ต้องจัดเป็นพวกของท่านทีเดียว ถ้ายังไม่ถึงกระนั้นท่านลดลงมา ถ้าบุคคลผู้ใดได้ถึงกายธรรม กายธรรมละเอียดนั่นก็ ภควโต สาวกสงฺโฆ เหมือนกัน เรียกว่า พระพุทธชินสาวก ไม่ใช่อริยสาวก เป็นพระพุทธชินสาวก หรือปุถุชน ลดลงตามส่วนลงมา ตามนั้น ประพฤติดีถูกต้องร่องรอยที่จะเข้าถึงธรรมกาย-ธรรมกายละเอียดขึ้นไป ไม่ได้เคลื่อน เลยทีเดียว ทางนั้นไม่คลาดเคลื่อน ท่านก็อนุโลมเข้าเป็นพุทธชินสาวกด้วยเหมือนกัน หรือจะ ผลักเสียเลยไม่ได้ ถ้าผลักเสียเลยละก้อ ที่จะเป็นโคตรภู ธรรมกายละเอียดก็ไม่มีเหมือนกัน อาศัยความบริสุทธิ์ของพวกเราที่เป็นคฤหัสถ์บรรพชิต บริสุทธิ์จริงๆ นั่นเป็นปุถุชนสาวก ของพระบรมศาสดา นี่เป็นตำรับตำรา
บัดนี้ เราจะเป็นพระสาวกของพระศาสดาบ้าง ก็ต้องขาดจากใจนะ พิรุธจากกาย พิรุธจากวาจา ไม่ให้มีทีเดียว ให้บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจจริงๆ ด้วยใจของตน จะค้นลงไปสักเท่าไร ตัวเองจะค้นตัวเองลงไปเท่าไร หาความผิดทางกาย วาจา ใจ ไม่ได้ คนอื่นพิจารณาด้วยปัญญาสักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็หาความผิดทางกาย วาจาไม่ได้ หรือท่านมี ปรจิตตวิชชา รู้วาระจิตของบุคคลผู้อื่น ให้พินิจพิจารณาค้นความพิรุธทางกาย วาจา ใจ ของบุคคลผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นไม่ได้ นั้นเรียกว่าปุถุชนสาวก ถ้าว่าเข้าธรรมกายแล้ว เป็นโคตรภู ทีเดียว ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่อริยะ ที่จะถึงอริยะต้องอาศัยโคตรภู แต่ว่ายังกลับเป็นปุถุชนได้ ยังกลับเป็นโลกียชนได้ จึงได้ชื่อว่าโคตรภู ระหว่างปุถุชนกับพระอริยะต่อกัน ถ้าเข้าถึงโคตรภู แล้ว ที่จะเป็นโสดาก็เป็นไป ที่จะกลับมาเป็นปุถุชนก็กลับกลาย ที่จะเป็นโสดาก็ถึงนั้นก่อน จึงจะเป็นไปได้
เมื่อรู้จักหลักอันนี้นี่แหละ ท่านจึงได้วางบาลีว่า ผู้ใดเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัว เหมือนธรรมทั้งสิ้นไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ไม่ใช่ตัวแล้วจะไปเพลิน อะไรกับมันเล่า มันของยืมเขามาหลอกๆ ลวงๆ อยู่อย่างนี้ เพลินไม่สนุก ปล่อยมัน อ้ายที่ ปล่อยไม่ได้ ก็เข้าใจว่าตัวเป็นของตัว จงปล่อยมัน เมื่อปล่อยแล้วนั่นแหละ หนทางหมดจด วิเศษ หนทางบริสุทธิ์ทีเดียว นั้นเป็นหนทางบริสุทธิ์แท้ๆ วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ ความหมดจด จากกิเลสทั้งหลาย วิสุทฺธิ สพฺพเกฺลเสหิ โหติ ทุกฺเขหิ นิพฺพุติ เจตโส โหติ สา สนฺติ ความ หมดจดจากกิเลสทั้งหลาย ความดับจากทุกข์ทั้งหลาย ทุกข์ดับไปแล้ว จิตก็สงบ หลุดไปจาก ทุกข์ทั้งหมด นิพฺพานมีติ วุจฺจติ นักปราชญ์กล่าวว่าเป็นความดับ คือนิพพาน แต่ว่าความ สงบนี่เป็นต้นของมรรคผลนิพพานทีเดียว ถ้าเข้าความหยุดความสงบไม่ได้ บรรลุมรรคผล ไม่ได้ ความหยุดความสงบเป็นเบื้องต้นมรรคผลนิพพานทีเดียว จะไปนิพพานได้ ต้องไปทางนี้ มีทางเดียว ทางสงบอันเดียวกันนี้แหละ ท่านจึงได้ยืนยันต่อไปว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่น นอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี หยุดนิ่งกันให้หมดทั้งสากลโลก ไม่เอาธุระ นั่นเป็นทางบริสุทธิ์ นั่น เป็นทางไปสู่มรรคผลนิพพานแท้ๆ รู้แน่เช่นนี้แล้ว ย่อสั้นลงไป ท่านจึงได้ยืนยันว่า เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ก็ชนเหล่าใด ประพฤติตามธรรม ในธรรมที่พระตถาคตเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงฝั่ง คือ นิพพาน อันเป็นที่ตั้งของมัจจุสุดจะข้ามได้ คือนิพพานนั่นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้นจักถึงซึ่ง ฝั่งอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ สุทุตฺตรํ แสนยากที่จะข้ามได้ ในสากลโลกที่จะข้ามไปถึงฝั่ง นิพพาน นะ แสนยาก ไม่ใช่เป็นของง่ายเลย
พระพุทธเจ้าทรงสร้างบารมี 4 อสงไขยแสนกัปป์ 8 อสงไขยแสนกัปป์ 16 อสงไขย แสนกัปป์ จึงจะข้ามวัฏฏสงสารได้ ถ้าคนข้ามได้บ้าง ก็แสนยากที่ข้ามได้ ท่านจึงได้วางตำรา ไว้เป็นเนติแบบแผนไปเป็นลำดับๆ แต่ว่าในท้ายพระคาถา กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต บัณฑิตผู้มีปัญญาละธรรมดำเสีย ไม่ประพฤติเลยทีเดียว ยังธรรมขาวให้ เจริญขึ้น เด็ดขาดลงไป เหมือนภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิก พอบวชเป็นพระเป็นเณร ขาดจากใจ ความชั่วไม่ทำเลย ถ้าว่าชีวิตตายเป็นตายกัน ชีวิตจะดับดับไป ทำความดีร่ำไป นี่พวกละธรรมดำ ประพฤติธรรมขาวแท้ๆ
อุบาสกอุบาสิกล่ะ เมื่อจะเป็นอุบาสกอุบาสิกาดีๆ แท้ๆ นะ พอเริ่มเป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็ขาดจากใจ ความชั่วกาย วาจา ใจ ละเด็ดขาด ไม่ทำ ชีวิตดับๆ ไป เอาความ บริสุทธิ์ใส่ลงไป เอาความบริสุทธิ์ใส่ได้ไปสวรรค์ ไม่ต้องทุกข์กับใคร แน่นอนใจทีเดียว นี้ อย่างชนิดนี้ ละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น นี่พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีเป็นสอง ชาติดังนี้ ละธรรมดำจริงๆ เจริญธรรมขาวจริงๆ ไม่ยักเยื้องแปรผันไป
ตามวาระพระบาลีว่าคาถาข้างหลังรับรองไว้ สทฺธาย สีเลน จ ยา ปวฑฺฒติ ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภยํ สา ตาทิสี สีลวตี อุปาสิกา อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน อุปาสิกาใดเจริญ ด้วยศรัทธา ความเชื่อมั่นในขันธสันดาน ละชั่วขาดแล้ว ไม่กลับกลอกแล้ว เหลือแต่ดีแล้ว ฝ่ายเดียวแล้ว เจริญด้วยศีล เจริญด้วยปัญญา และเจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยสุตะ นี่ก็ เป็นฝ่ายดี อุบาสิกานั้นชื่อว่าประพฤติเป็นระเบียบเรียบร้อยดี มั่นในพระรัตนตรัยแท้ มั่นใน พระรัตนตรัย อาทิยตี สารมิเทว อตฺตโน ยึดแก่นสารของตนไว้ได้
ตรงนี้หลักต้องจำไว้ ยึดไว้ให้มั่นเชียว ไม่ให้คลาดเคลื่อนได้ ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ ราชรถอันงดงามย่อมถึงซึ่งความเสื่อมทรามไป แม้สรีระร่างกายของเราท่านทั้งหลายนี้ละ สรีระร่างกายก็ย่อมเข้าถึงความทรุดโทรม ไม่ยักเยื้องแปรผันไปข้างไหน ทรุดโทรมหมด เหมือนกัน หมดเป็นลำดับๆ ไป ย่อมเข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม ธรรมของสัตบุรุษย่อมหาเข้า ถึงซึ่งความทรุดโทรมไม่ ดำรงคงที่อยู่ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นธรรมของสัตตบุรุษ ไม่ถึงซึ่ง ความทรุดโทรม ไม่สลาย ไม่เสียหาย ไม่เข้าถึงซึ่งความทรุดโทรม เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ ควร กระทำเถิดซึ่งบุญ ควรกระทำเถิดซึ่งบุญทั้งหลาย สุขาวหานิ อันนำความสุขมาให้ เมื่อทำ บุญทั้งหลายแล้วนำความสุขมาให้ อจฺเจนฺติ กาลา กาลย่อมผ่านไป ตรยนฺติ รตฺติโย ราตรี ก็ย่อมล่วงไป วันก็ผ่านไป วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ กาลผ่านไป ราตรีย่อมล่วงไป ชั้นของ วัยย่อมละลำดับไป ชั้นของวัยเป็นไฉน เด็กเล็กๆ ละลำดับเด็กเรื่อยมา เป็นคนโตๆ เป็น ลำดับมา หนุ่มสาวละเป็นลำดับมา แก่เฒ่าละเป็นลำดับมา อีกหน่อยก็หมด ละลำดับอย่างนี้ มาเรื่อย เหมือนอย่างกาลเวลาล่วงไปไม่กลับมา กาลเวลานะ อดีตกาลปีที่ล่วงไปแล้ว ปัจจุบันกาลปีที่เป็นปัจจุบันนี้ อนาคตกาลปีที่จะมีมาข้างหน้า ผ่านไปหมด นี่แหละกาลผ่าน ไป วันเวลาวันนี้ผ่านไปบ้างแล้ว ผ่านไปแล้วเป็นอดีตที่กำลังปรากฏ ฟังเทศน์อยู่นี้เป็น ปัจจุบัน วันที่จะมีมาข้างหน้าเป็นอนาคต นั่นแหละเรียกว่ากาลเวลาผ่านไปๆ ราตรีล่วงไป วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ไม่ถอยกลับมาเลย ชั้นของวัยเด็กเล็กๆ เป็นหนุ่มสาว เป็นแก่เป็น เฒ่า ก็ละลำดับเรื่อยไป ไม่ได้หยุดอยู่เลยสักนิด ไม่รอใครเลย เอ็งจะรออย่างไรก็ตามเถิด ข้าไม่รอเจ้า ความจริงเป็นอย่างนี้ ก็ต้องละลำดับไป เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ผู้มีปัญญา เห็นเหตุนั้น เป็นภัยในความตายทีเดียว ไอ้กาลเวลาผ่านไป ราตรีล่วงไป ชั้นของวัยละลำดับ ไป นั้นเป็นภัยในความตายเทียวนะ ตัวตายทีเดียว ไม่ใช่ตัวอื่นละ เมื่อรู้ชัดเช่นนี้ เมื่อรู้ชัด จริงลงไปเช่นนี้แล้ว อย่ามุ่งอื่น มุ่งแต่บำเพ็ญการกุศลไปที่จะนำความสุขมาให้แท้ๆ ไม่ต้องไป สงสัย เอตฺตกานมฺปิ ปาฐานํ อตฺถํ อญฺญาย สาธุกํ ปฏิปชฺเชถ เมธาวี อโมฆํ ชีวิตํ ยถา ผู้มี ปัญญาได้รู้เนื้อความของบาลีแม้เพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตตนที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้มีปัญญารู้ความของบาลีเพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ไร้ประโยชน์ พึง ปฏิบัติตามเป็นอยู่ของตนในวันหนึ่งๆ ให้มีประโยชน์อยู่ร่ำไป ไม่ให้ไร้ประโยชน์ ถ้าปล่อย ความเป็นอยู่ของตนให้ไร้ประโยชน์ละก้อ เป็นลูกศิษย์พญามาร เป็นบ่าวของพญามาร ไม่ใช่ เป็นลูกศิษย์พระ บ่าวพระ เป็นลูกพญามาร เป็นบ่าวพญามาร พึงปฏิบัติชีวิตของตนไม่ให้ ไร้ประโยชน์ ไม่ให้เปล่าประโยชน์จากประโยชน์ทีเดียว ให้มีประโยชน์อยู่เสมอ ในความบริสุทธิ์ ในธรรมที่ขาวอยู่เสมอไป ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่พระองค์ได้เตือนเราท่านทั้งหลาย แม้เสด็จ ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วตั้งนาน ก็ยังเตือนเราท่านทั้งหลายอยู่ชัดๆ อย่างนี้ เราพึงปฏิบัติ ตามเถิด สมกับพบพระบรมศาสดา
ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอ สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่อ้างธรรมปฏิบัติมาตั้งแต่ต้นจน อวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามา สโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
เจริญธรรม